อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและคุณลักษณะทางจิตวิทยาเชิงบวกของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลต่อความเข้มแข็งของชุมชน

Authors

  • อภิญญา หรูสกุล
  • สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล
  • สุชาดา กรเพชรปาณี

Keywords:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, จิตวิทยาเชิงบวก, นายกองค์การบริหารส่วนตำบล

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและคุณลักษณะทางจิตวิทยาเชิงบวกของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตัวแปรในโมเดลประกอบด้วยตัวแปรแฝง 3 ตัวแปรได้แก่ความเข้มแข็งของชุมชนภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและคุณลักษณะทางจิตวิทยาเชิงบวก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ภาคตะวันออก 4 จังหวัดได้แก่ฉะเชิงเทราชลบุรีปราจีนบุรีและระยองประกอบด้วยประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหัวหน้าส่วนการคลังและหัวหน้าส่วนโยธาจำนวน 220 คนเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.80          ผลการวิจัยปรากฏว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ระดับดีมีค่าสถิติไค - สแควร์เท่ากับ 40.42 ค่าpเท่ากับ .28 ค่าdfเท่ากับ 36 ค่า GFI เท่ากับ .97 ค่า AGFI เท่ากับ .94ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า SRMR เท่ากับ .02 ค่า RMSEA เท่ากับ .02 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ .75 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อความเข้มแข็งของชุมชนคือคุณลักษณะทางจิตวิทยาเชิงบวก          The purpose of this research was to develop and validate a causal model of how transformationalleadership and positive psychological attributes of the chief executive of sub-district administrativeorganization influenced community strength. The model consisted of three latent variables: communitystrength, transformational leadership, and positive psychological attributes. The sample was derived bymeans of multi-stage random sampling, and consisted of 220 administrators and staff of the sub-districtadministrative organization in the eastern part of Thailand from 4 provinces: Chachoengsao, Chon BuriPrachin Buri, and Rayong. Research instrument was a questionnaire. Descriptive statistics were generatedusing SPSS, and causal modeling involved in the use of LISREL 8.80.          Results indicated that the hypothetical model was consistent with the empirical data as indicated thefollowing fit statistics: chi-square = 40.42, df= 36, p= .28, GFI = .97, AGFI = .94, CFI = 1.00, SRMR = .02,and RMSEA = .02. The variables in the model accounted for 75 percent of the total variance in communitystrength. Positive psychological attributesinfluenced community strength the most.

Downloads