โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยของรัฐ

Authors

  • อรวรรณ บุญบำรุง
  • สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล
  • กนก พานทอง

Keywords:

พฤติกรรมองค์การ, จิตวิญญาณ, ความสุข, พนักงานมหาวิทยาลัย

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยของรัฐและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 420 คนเป็นผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยของรัฐในจังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2556 ได้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตศรีราชาและมหาวิทยาลัยบูรพาใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรมLISREL 8.80          ผลการวิจัยปรากฏว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยของรัฐมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์เท่ากับ46.56 ค่าdfเท่ากับ 36 ค่าpเท่ากับ .11 ดัชนี GFI เท่ากับ .98 AGFI เท่ากับ .96 CFI เท่ากับ 1.00 SRMR เท่ากับ .01RMSEA เท่ากับ .02 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยของรัฐได้ร้อยละ 36 เชาวน์ด้านจิตวิญญาณมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านความสุขส่วนความสุขมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าผู้ปฏิบัติงานที่มีเชาวน์ด้านจิตวิญญาณสูงจะมีความสุขในการทำงานและส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ           The purpose of this research was to develop and validate a causal relationship model comprisingfactors affecting organizational citizenship behavior in university staff. The sample derived by means of multi-stagerandom sampling, consisted of 420 public university staffs from Kasetsart University (Siracha Campus) andBurapha University (academic year 2013). The research instrument was a questionnaire. Descriptive statisticswere generated using SPSS; causal modeling involved in the use of LISREL 8.80.          The results indicated that the hypothetical model was consistent with the empirical data asdemonstrated by the following fit measures: chi-square test = 46.56, df= 36, p=.11, GFI = .98, AGFI = .96,CFI = 1.00, SRMR = .01, RMSEA = .0 2. All variables in the model accounted for 36% of the total variance inorganizational citizenship behavior. The spiritual quotient variable had a direct effect on organizationalcitizenship behavior and an indirect effect through happiness, while happiness itself had a direct effect onorganizational citizenship behavior. In conclusion, public university staff with higher scores on spiritual quotient would be happier in their work, and perform better organizational citizenship behavior.

Downloads