โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการรับรู้ความสามารถของตนเองและเมต้าคอกนิชันส่งผลต่อความคาดหวังในความสามารถของตนและผลของการกระทำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Authors

  • ญาณิกา ลาประวัติ
  • พูลพงศ์ สุขสว่าง
  • กนก พานทอง

Keywords:

ความสามารถในตนเอง, เมตาคอคนิชัน, การรับรู้ตนเอง

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการรับรู้ความสามารถของตนเองและเมต้าคอกนิชันที่ส่งผลต่อความคาดหวังในความสามารถของตนและความคาดหวังในผลของการกระทำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรในโมเดลประกอบด้วยตัวแปรแฝง 4 ตัวแปร ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเอง เมต้าคอกนิชัน ความคาดหวังเกี่ยวกับความสามารถของตน และความคาดหวังเกี่ยวกับผลของการกระทำ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2555 ของโรงเรียนในจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 455 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง เมต้าคอกนิชัน ความคาดหวังในความสามารถของตน และความคาดหวังในผลของการกระทำ วิเคราะห์ค่าสถิติเบื้องต้นโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL 8.80 (Student Edition)          ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าสถิติไค-สแควร์เท่ากับ 31.30 ค่า df เท่ากับ 24 ค่า p เท่ากับ .15 ค่า GFI เท่ากับ .99 ค่า AGFI เท่ากับ .96 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า RMR เท่ากับ .01 ค่า SRMR เท่ากับ .02 ค่า RMSEA เท่ากับ .03 มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ความคาดหวังในความสามารถของตน เท่ากับ .78 และค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ความคาดหวังในผลของการกระทำ เท่ากับ .79 การรับรู้ความสามารถของตนเองมีอิทธิพลสูงสุดต่อความคาดหวังในความสามารถของตนและความคาดหวังในผลของการกระทำ          The purpose of this research was to develop and validate a causal model of self-efficacy and metacognition affecting efficacy expectancy and outcome expectancy of lower secondary school students. The model consisted of four latent variables: self-efficacy, metacognition, efficacy expectancy, and outcome expectancy. The sample comprised 455 lower secondary school students (academic year 2012) from schools in Si Sa Ket province, residing under the Office of Basic Education Commission. The sample was selected by multi-stage random sampling. The research instruments included self-efficacy, metacognition, efficacy expectancy, and outcome expectancy scales. Descriptive statistics were generated using SPSS. Causal modeling involved in the use of LISREL 8.80 (Student Edition).          Results indicated that the causal model was consistent with the empirical data as demonstrated by the following fit measures: chi-square = 31.30, df = 24, p = .15, GFI = .99, AGFI = .96, CFI = 1.00, RMR = .01, SRMR = .02, RMSEA = .03. The variables in the model accounted for 78 percent and 79 percent of the total variance in efficacy expectancy and outcome expectancy respectively. Self-efficacy had the highest direct effect on students’ efficacy expectancy and outcome expectancy.

Downloads