ผลกระทบและมาตรการแก้ไขทางกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติกัมพูชา ในเขตจังหวัดจันทบุรี: การศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมาย ก่อนและหลังประกาศนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

Authors

  • ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์
  • ฐิติรัตน์ อิทธิมีชัย

Keywords:

แรงงานต่างด้าวกัมพูชา - - ไทย - - จันทบุรี, กฎหมายแรงงาน, นโยบายแรงงาน

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบและมาตรการแก้ไขทางกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน ข้ามชาติกัมพูชา ในจังหวัดจันทบุรีก่อนและหลังประกาศนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติวิธีการศึกษาใช้ การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method research) ระหว่างการวิจัยเชิงสำรวจกับการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงสำรวจ ใช้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการทางด้านการเกษตร การค้าและการบริการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ แรงงานข้ามชาติกัมพูชา จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากแรงงานข้ามชาติวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์กลุ่ม โดยผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่แรงงานกัมพูชา นายจ้าง และผู้ประกอบการอื่นๆ ผลการวิจัยเปรียบเทียบผลกระทบเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติกัมพูชาระหว่างก่อนและหลังนโยบายคณะ รักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปรากฏว่า ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมืองการปกครอง และ ด้านสาธารณสุข มีผลน้อยลงเหมือนกันหมดทุกด้าน ในส่วนของมาตรการแก้ไขทางกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ ชี้ให้เห็นว่า นโยบาย คสช. ยังไม่มีผลต่อการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติในหลาย ๆ ประเด็น ดังนั้นผู้วิจัยจึง เสนอมาตรการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติเพิ่มเติมจากนโยบายของ คสช. คือ มาตรการลำดับแรก ควรเสนอให้ รัฐบาลจัดระบบการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติเป็นงานประจำทั้งปีมาตรการลำดับสอง ควรเสนอให้รัฐบาล จัดเก็บค่าธรรมเนียมในราคาที่เป็นธรรมสำหรับการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ มาตรการลำดับสาม รัฐบาลควรตั้ง ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของแรงงานข้ามชาติในชุมชนที่มีการจ้างแรงงาน มาตรการลำดับสี่ การแยกการบริหาร จัดการด้านสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติออกจากพระราชบัญญัติประกันสังคม และมาตรการ ลำดับห้า หน่วยงานของรัฐควรจัดทำศูนย์ข้อมูลออนไลน์เกี่ยวกับประวัติแรงงานข้ามชาติThe objectives of this research were to compare impacts and legal resolution measures concerning Cambodian immigrant workers of Chanthaburi province between pre and post promulgation national council to peace and order policy. The research used mixed method research between survey research and qualitative research. The sample of the survey research were 400 service, commercial and agricultural entrepreneurs who were directly involved with Cambodian immigrant workers. The research instrument was a questionnaire concerning impacts of the workers. Data were analyzed by descriptive statistics. Besides, qualitative research used both documentary research and group interview of key informants including the Cambodian workers, the employer and other entrepreneurs. The research found that health, governmental and political, social and economic impacts between pre and post promulgation of national council for peace and order policy were decreased. Moreover, it found that the legal resolution measure of the council were not enough to resolve the impact so the researcher proposed the additional measure as follow: firstly, the government should organize the immigrant workers register system all year round; secondly, the government should organize fair fee for the registration; thirdly, the government should organize community complaint center for the worker; fourthly, separation benefit and labor protection management of the worker from the insurance act; fifthly, state apparatus should organize an on-line information center concerning the worker record.

Downloads