การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรปฏิบัติการด้านอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยเทคนิคเดลฟายแบบอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 3 รอบกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 19 คนและจัดลำดับองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม PHP เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรปฏิบัติการระหว่างวิธีการให้คะแนนแบบฟัซซีกับวิธีการให้คะแนนแบบถ่วงน้ำหนัก และเปรียบเทียบผลการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรปฏิบัติการด้านอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ระหว่างองค์การที่ได้รับมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001 กับองค์การที่ได้รับมาตรฐานคุณภาพ ISO/TS 16949 วิเคราะห์ค่าสถิติด้วยสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. เกณฑ์การประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรปฏิบัติการด้านอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประกอบด้วย 7 ด้าน (21 ตัวบ่งชี้) ได้แก่ 1) ด้านทักษะและประสบการณ์ 2) ด้านปัญญา 3) ด้านการ จัดการความสัมพันธ์และการทำงานร่วมกัน 4) ด้านลักษณะส่วนบุคคล 5) ด้านบรรลุเป้าหมาย 6) ด้านภาวะผู้นำ และ 7) ด้านความคิดสร้างสรรค์และการปรับเปลี่ยนความคิด เกณฑ์ฯ สามารถจำแนกระดับการปฏิบัติงานของบุคลากรปฏิบัติการออกเป็น 5 ระดับตั้งแต่ระดับที่ 1 (ต้องปรับปรุง) ถึงระดับที่ 5 (ดีเด่น) 2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรปฏิบัติการด้านอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แบบออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งาน 3. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรปฏิบัติการระหว่างวิธีการให้คะแนนแบบฟัซซีกับวิธีการให้คะแนนแบบถ่วงน้ำหนัก ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ 4. ผลการเปรียบเทียบการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรปฏิบัติการด้านอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ขององค์การที่ได้รับมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001กับองค์การที่ได้รับมาตรฐานคุณภาพ ISO/TS 16949 ปรากฏว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปได้ว่าเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติงานมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการประเมินบุคลากรปฏิบัติการด้านอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ The objectives of this research were (1) to develop criteria for assessing employee performance in the automotive parts industry using a modified Three Round e-Delphi procedure involving nineteen experts; (2) to rank the developed components with Analytic Hierarchy Process (AHP); (3) to develop an online program using PHP; (4) to compare the average criteria scoring between the fuzzy logic model and the weighted sum model; and (5) to compare the results of criteria for assessing employee performance in automotive parts industry that have received ISO 9001 quality and ISO/TS 16949 quality. Data were analyzed using Mann-Whitney U test. The results were as follows: 1. The developed criteria for assessing employee performance in automotive parts industry consisted of seven components with twenty-one indicators. The components were (1) skills and experience; (2) cognitive domain; (3) interpersonal and collaboration skills; (4) trait; (5) achievement; (6) leadership; (7) creative and adaptive thinking. Assessing employee performance was categorized into five levels from 1 (strongly needing improvement) to 5 (excellent). 2. The developed online program for assessing employee performance in automotive parts industry was accepted by users. 3. The average scoring assessing employee performance between the fuzzy logic model and the weighted sum model had no statistically-significant difference. 4. The assessing employee performance between of organizations received ISO 9001 quality and ISO/TS 16949 quality was found to be statistically significant at the .01 level. The results confirm that the developed criteria are suitable for assessing employee performance in the automotive parts industry.