ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลเมืองชลบุรี

Authors

  • สรวงทิพย์ ภู่กฤษณา
  • กัญญาวีณ์ โมกขาว
  • สุริยา ฟองเกิด

Keywords:

ปัจจัยที่มีอิทธิพล, พฤติกรรม, การสร้างเสริมสุขภาพ, วัยรุ่น

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลเมืองชลบุรี โดยการใช้กระบวนการวิจัยสำรวจ ภายใต้แนวคิดทฤษฎี แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่น จำนวน 145 คน ใช้วิธีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน และเลือกตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ วิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ          ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม (PBOA) ปัจจัยด้าน การได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ (OIV) และปัจจัยด้านการได้รับคำแนะนำจากบุคคลอื่น (PSS) ร่วมกัน ทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลเมืองชลบุรี ได้ร้อยละ  37 (R2=.37) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรที่ทำนายได้สูงสุด (b) คือ ปัจจัยด้านการได้รับคำแนะนำจากบุคคลอื่น (PSS) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม (PBOA)  และสุดท้ายคือ ปัจจัยด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ (OIV)            This research aims to study the factors influencing to the adolescents’ health promoting behavior in the area of responsibility of Mueang Chon Buri hospital. Survey research method was used under the concept of Pender’s health promotion model. The 145 adolescents were defined sample size from Krejcie and Morgan’s sample size table and selected by simple random sampling method. The research questionnaire was created by researcher. Data analysis were using frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson correlation, and multiple regression analysis.          The research results were found that factors of perceived benefits of action (PBOA), the factor of obtaining information from various source (OIV), and the factor perception of suggested by someone else (PSS) could predict health promoting behavior of adolescents at 37.00% (R2 = .370) significantly statistical level .05. The factor perception of suggested by someone else (PSS) was a maximum prediction variable. The moderate predicting factor was the perceived benefits of action (PBOA) and the minimum predicting factor was the factor of obtaining information from various source (OIV).

Downloads