การศึกษารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย : การวิจัยแบบผสมผสานวิธีการ

Authors

  • อาทิตย์ อินต๊ะแก้ว
  • องอาจ นัยพัฒน์
  • อัญชลี จันทร์เสม

Keywords:

รูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ, รูปแบบทางปัญญา, โครงสร้างของรูปแบบการเรียนรู้, การปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้

Abstract

          การวิจัยแบบผสมผสานวิธีการประเภท Exploratory Sequential Design นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ทำ  ความเข้าใจรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย วิเคราะห์โครงสร้างรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา พัฒนาแบบวัดรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา ทำการสอน ภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยวัดรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างทั้งก่อนหลัง และเมื่อไม่ได้รับการสอนเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนและความ คงทนของรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษากลุ่มทดลอง ผลการศึกษาปรากฏว่า         1. นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เป็นลักษณะเฉพาะ 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบวิเคราะห์ไวยากรณ์ และรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรม         2. โครงสร้างองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยประกอบด้วย 2 โครงสร้างหรือ 2 รูปแบบการเรียนรู้ โดยมีความแปรปรวนรวมเท่ากับร้อยละ 51.80 แบบวัดรูปแบบการ เรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษามีค่าความเชื่อมั่นด้านมิติการวัดรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบวิเคราะห์ไวยากรณ์เท่ากับ 0.96 และมิติด้านรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่ากับ 0.82 โดยมีค่า ความเชื่อมั่นของแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 ซึ่งเป็นแบบวัดรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่มีค่าความเชื่อมั่นสูง และโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่หนึ่งของรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2= 166.30, df = 171, p = .58, RMSEA = 0.00)         3. นักศึกษามหาวิทยาลัยกลุ่มทดลองจำนวน 17 คน มีค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ของรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบวิเคราะห์ไวยากรณ์ก่อนเรียนและสามารถปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้หลังเรียน แต่เมื่อไม่ได้รับการจัดการเรียนการสอนเป็นเวลา 1 เดือน พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่กลับแปรเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของตนเองไปสู่รูปแบบเดิมคือ รูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบวิเคราะห์ไวยากรณ์           This mixed method research aimed to study English language learning styles of Thai undergraduate students, to explore the constructs of English Language Learning Styles, to develop an English Language Learning Styles Questionnaire (ELLSQ), and to study the change and retention of English language learning styles of Thai undergraduate students.          The results were as follows:          1. There were two English language learning styles of Thai undergraduate students: Grammar- Based English Learning Style and Concrete English Learning Style.          2. There were two constructs of English Language Learning Styles. The total variance explained of English learning style constructs was 51.80 %. In term of the development of English Language Learning Styles Questionnaire (ELLSQ), the reliabilities of Grammar-Based English Learning Style and Concrete English Learning Style constructs were 0.96 and 0.82 respectively. The reliability of an overall ELLSQ was 0.95. The measurement model was valid and well fitted to empirical data (X2= 166.30, df = 171, p = .58, RMSEA = 0.00).          3. Before conducting an experiment, 17 undergraduate students had a greater average mean score of the Grammar - Based English Learning Style, but they were able to change their English learning styles into the Concrete English Learning Style after an experiment. Without getting a treatment for a month, they changed their Concrete English Learning Styles to the Grammar - Based English Learning Style again.

Downloads