การพัฒนาเกณฑ์การประเมินทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครู ระดับประถมศึกษา

Authors

  • วาทิณี จิตรสำรวย
  • เสรี ชัดแช้ม
  • ภัทราวดี มากมี
  • สิริกรานต์ จันทเปรมจิตต์

Keywords:

การประเมิน, พัฒนาผู้เรียน, เกณฑ์การประเมิน

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเกณฑ์การประเมินทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนา  ผู้เรียนของครูระดับประถมศึกษา ด้วยเทคนิคเดลฟายแบบอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 รอบ กับผู้เชี่ยวชาญ  จำนวน 18 คน จัดลำดับองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ 2) พัฒนาโปรแกรม   คอมพิวเตอร์เกณฑ์การประเมินแบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม PHP และ 3) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนระหว่างครูชำนาญการพิเศษกับครูผู้ช่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบ แมน-   วิทนีย์ ยู (Mann-Whitney U test) ผลการวิจัยปรากฏว่า          1. เกณฑ์การประเมินทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครูระดับประถมศึกษา   ประกอบด้วย 5 ด้าน (20 ตัวบ่งชี้) ได้แก่ 1) ด้านความรู้เกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านความรู้เกี่ยวกับการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านความรู้   เกี่ยวกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้ จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอน จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ และ 5) ด้านความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์เรียนรู้ของผู้เรียน จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ สามารถจำแนกระดับทักษะ  กระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครูระดับประถมศึกษาออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ 1 (ต้องปรับปรุง) ถึงระดับที่ 5 (ดีเด่น)          2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์เกณฑ์การประเมินทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครูระดับประถมศึกษาแบบออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานในระดับดี          3. ผลการเปรียบเทียบการประเมินทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครูระดับประถมศึกษาระหว่างครูชำนาญการพิเศษกับครูผู้ช่วยชี้ให้เห็นว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 โดยครูชำนาญการพิเศษมีผลการประเมินทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนสูงกว่าครูผู้ช่วย          ผลการวิจัยยืนยันว่า เกณฑ์การประเมินทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการประเมินทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครูระดับประถมศึกษา           The objectives of this research were (1) to develop evaluation criteria for assessing the formative assessment skills among primary school teachers using a modified three round e-Delphi procedure based on eighteen experts; (2) to develop an online evaluation program using PHP; and (3), to compare the formative assessment skills exhibited between senior professional teachers and novice teachers. Data were analyzed using Mann-Whitney U test. The results were as follows:          1. The developed evaluation criteria of the formative assessment skills among primary school teachers consisted of five components with twenty indicators. The components were 1) identifying the goals for learning (three indicators); 2) providing feedback to learners (three indicators); 3) assessment for learning (six indicators); 4) pedagogical content knowledge (five indicators); and 5) learning experience of learners (three indicators). Evaluation criteria of the formative assessment skills among primary school teachers was categorized into five levels from 1 (needing improvement) to 5 (excellent).          2. The developed online program for the evaluation criteria of the formative assessment skills among primary school teachers was accepted by users.          3. The evaluation of the formative assessment skills between senior professional teachers and novice teachers was found to be statistically significant at the .01 level. Senior professional teachers have higher formative assessment skills than novice teachers.          The results confirmed that the developed criteria are suitable for the evaluation of the formative assessment skills among primary school teachers.

Downloads