การสร้างแบบวัดการบริหารจัดการของสมองขั้นสูง (ฉบับประเมินตนเอง) สําหรับนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร

Authors

  • เกดิษฐ์ จันทร์ขจร
  • องอาจ นัยพัฒน์
  • สังวรณ์ งัดกระโทก

Keywords:

การบริหารจัดการของสมองขั้นสูง, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, การสร้างแบบวัด

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบวัดการบริหารจัดการของสมองขั้นสูง สำหรับนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและสร้างปกติวิสัยของมาตรวัดกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ กำลังศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2559 จำนวน 2,376 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดมาตรประมาณค่า4 ระดับ วิเคราะห์ด้วย ค่าสถิติพื้นฐาน และตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง          ผลการวิจัยปรากฏว่า          1. แบบวัดการบริหารจัดการของสมองขั้นสูง สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครที่สร้างขึ้นเป็นแบบวัดมาตรประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 40 ข้อ ประกอบด้วย 2 มิติ และ 11 องค์ประกอบย่อย คือ 1) มิติด้านปัญญา ประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การรู้คิด การวางแผน/ การจัดลำดับความสำคัญ การจัดการอย่างเป็นระบบ การบริหารจัดการเวลา และความจำในการปฏิบัติงาน และ 2) มิติด้านพฤติกรรม ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การยับยั้งต่อการตอบสนอง การควบคุมอารมณ์ การมีสมาธิจดจ่อ กระบวนการเริ่มต้นงาน การยืดหยุ่นทางความคิด และความคงอยู่ของพฤติกรรมการไปสู่เป้าหมาย แบบวัดทั้งฉบับมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92          2. แบบวัดการบริหารจัดการของสมองขั้นสูง สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร มีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติ chi-square = 37.64, df = 29, p = .13, AGFI = .99, CFI = 1.00, SRMR = .02 และ RMSEA = .02          3. ปกติวิสัยของแบบวัดการบริหารจัดการของสมองขั้นสูง สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร จำแนกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ผู้ที่มีทักษะการบริหารจัดการของสมองขั้นสูงระดับสูง มีคะแนนมาตรฐาน T ตั้งแต่ 60 ขึ้นไป ผู้ที่มีทักษะการบริหารจัดการของสมองขั้นสูงระดับปานกลาง มีคะแนนมาตรฐาน T ตั้งแต่ 40 ถึง 59 และผู้ที่มีทักษะการบริหารจัดการของสมองขั้นสูงระดับต่ำ มีคะแนนมาตรฐาน T ต่ำกว่า 40 ลงมา           The purposes of this study were: 1) to construct an Executive Function Self Evaluate Report Scale (EFSER) for grade 10-12 in the secondary educational service area office in Bangkok; 2) to verify the construct validity of the scale; and 3) to derive norms for the scale. The sample consisted of 2,376 grade 10-12 students in the secondary educational service area office in Bangkok (academic year 2016). Descriptive statistics and scale quality measures were obtained. The validity and reliability of the scale was further tested by means of second order confirmatory factor analysis.          The research findings were:          1. The EFSER consisted of two domains; cognitive domain (metacognition, planning/ prioritizing, organization, time management, and working memory) and behavioral domain (response inhibition, emotional control, sustained attention, task initiation, flexibility, and goal directed persistence) across the eleven interrelated sub-domains. The total scale reliability (Cronbach’s alpha) was .92.          2. The construct validity of the EFSER was demonstrated by the fit measures resulting from confirmatory factor analysis: chi-square = 37.64, df = 29, p = .13, AGFI = .99, CFI = 1.00, SRMR = .02, and RMSEA = .02.          3. The norms for Executive Function (EF) for grade 10-12 in the secondary educational service area office in Bangkok students were constructed as follows: T-scores = 60 or above was deemed to have a high level of EF; T-scores from 40 to 59 indicated an average of EF level, and T-scores lower than 40 was indicative of a low level of EF.

Downloads