การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ในชั้นเรียนโดยประยุกต์กระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนสําหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา

Authors

  • รวิชญุฒม์ ทองแม้น
  • สุชาดา กรเพชรปาณี
  • ปิยะทิพย์ ประดุจพรม

Keywords:

การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน, การออกแบบ, กิจกรรมการเรียนรู้, การเรียนรู้แบบร่วมมือ

Abstract

          กิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนควรดำเนินการควบคู่ไปพร้อมกับการประเมิน การวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนโดยประยุกต์กระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาและเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นโดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พิจารณาจากความเข้าใจของครูในการออกแบบกิจกรรมการ เรียนรู้ การวิเคราะห์พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ พฤติกรรมการสอนของครูและการเรียนรู้ของนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนกับนักเรียน และผลการเรียนรู้ของนักเรียน  กลุ่มเป้าหมายเป็นครู จำนวน 5 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 14 คน โรงเรียนบ้านเกาะแก้ว และครู จำนวน 8 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 21 คน โรงเรียนบ้านดู่ จังหวัดสุรินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนจากการบันทึกวีดิทัศน์ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏดังนี้          1. กิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่บูรณาการกับการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนมี 6 ขั้น ได้แก่ 1) กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ 2) กำหนดเกณฑ์ความสำเร็จในการเรียนรู้ 3) ปฏิบัติกิจกรรมและระบุหลักฐานการเรียนรู้ 4) ประเมินผลจากหลักฐานการเรียนรู้ 5) ให้ข้อมูลป้อนกลับ และ 6) สรุปผลการเรียนรู้          2. หลักการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้มี 7 ประการ ได้แก่ 1) เปิดประเด็นปัญหาน่าสนใจ ชวนให้อยากรู้ ค้นคว้าต่อ 2) ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและร่วมคิดแก้ปัญหากับกลุ่ม 3) สร้างสรรค์ผลงานร่วมกัน 4) เชื่อมโยงกับชีวิตจริงและใช้สื่อในท้องถิ่น 5) บูรณาการเนื้อหาวิชา 6) สัมพันธ์กับการทำงานของสมองสองซีก และ 7) กิจกรรมที่มีลักษณะเชิงรุก          3. กิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และปีที่ 4 จำนวน 24 รายวิชาที่มีคุณภาพเหมาะสมและสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้          4. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นทำให้การจัดการชั้นเรียนเป็นแบบเคลื่อนไหว เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ส่งผลให้พฤติกรรมการสอนของครูและการเรียนรู้ของนักเรียนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนกับนักเรียนมากขึ้น และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น รวมทั้งนักเรียน ครู ผู้ปกครองและผู้บริหารมีเจตคติที่ดีมากต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้           Appropriate learning activities must be designed and conducted together with an assessment process. Therefore, this research aimed to design the classroom learning activities by implementing a formative assessment process for primary school students and to investigate the effectiveness of classroom learning activities developed by the researcher. The outcomes were considered from the understanding of teachers in designing activities, the results of analytical review of teaching and learning behaviors, the interaction in a classroom between teacher and students, students and students, and the learning outcomes from students who participated in the learning activities. The target group consisted of 5 teachers and 14 grade-one students from Ban Kokaew School and 8 teachers and 21 grade-four students from Ban Du School, Surin Province. The research instruments included the assessment of understanding in designing activities form, the classroom behavior analysis form for assessing the target behaviour from video recording, and the interview form. Data analyses were done by using means and standard deviations. The qualitative data were analyzed by means of content analysis.          Results were as follows:          1. The classroom learning activities which integrated with formative assessment composed of six steps; 1) setting learning goals, 2) setting learning success criteria, 3) performing the activities and finding/considering the learning outcome evidence, 4) assessing the learning outcomes, 5) providing learning feedback, and 6) summarizing the learning outcomes.          2. The designing of classroom learning activities comprised seven principles; 1) initiating interesting problem, motivating curiosity, and searching for answer, 2) performing tasks by themselves and brainstorming with the group, 3) creating and mutually contributing to the projects, 4) liking to real-life situation and utilizing local medium, 5) integrating the  subject contents, 6) relating to brain functions, and 7) active learning activities.          3. The developed classroom learning activities consisted of eight modules (24 subjects) for grade one and four students were suitable to be used.          4. The outcomes of the developed classroom learning activities brought about dynamic classrooms and mutual learning. These changes improved teachers’ teaching and students’ learning behaviors. Furthermore, the classroom interaction between teacher and students and among students groups were also enhanced as well as students’ academic achievement. In addition students, teachers, parents, and school principal have more positive attitudes toward learning activities.

Downloads