การลดอาการถอนนิโคตินและเพิ่มการผ่อนคลายด้วยโปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการใช้ น้ำมันหอมระเหยไทยในการเลิกบุหรี่

Authors

  • สนอง คล้ำฉิม
  • สุชาดา กรเพชรปาณี
  • สิริกรานต์ จันทเปรมจิตต์
  • ยุทธนา จันทะขิน

Keywords:

อาการถอนนิโคติน, การผ่อนคลาย, การนวดกดจุด, การใช้น้ำมันหอมระเหยไทย, relaxation

Abstract

          นิโคตินเป็นสารประกอบในบุหรี่ที่ทำให้เกิดการเสพติด เมื่อหยุดสูบบุหรี่จะเกิดอาการถอนนิโคตินและความเครียด การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยไทยเพื่อลดอาการถอนนิโคตินและเพิ่มการผ่อนคลายในการเลิกบุหรี่ และเปรียบเทียบอาการถอนนิโคติน กับกลุ่มเปรียบเทียบที่ใช้หมากฝรั่งนิโคติน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครผู้เลิกบุหรี่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองโคน เพศชาย จำนวน 60 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดอาการถอนนิโคตินด้านจิตวิทยา และแบบวัดด้านสมรรถนะการจำ สัญลักษณ์ตัวเลข เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ โปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยไทย และหมากฝรั่งนิโคติน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ MANOVA          ผลการวิจัยปรากฏดังนี้          1) โปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยไทย ประกอบด้วย ตำแหน่งจุด สะท้อนเท้า 16 ตำแหน่ง และน้ำมันหอมระเหย 2 ชนิด ได้แก่ น้ำมันหอมระเหยมะกรูด และกระดังงา ใช้เวลานวดครั้งละ 40 นาที วันละ 1 ครั้ง          2) ผลการเปรียบเทียบระหว่างก่อนกับหลังการทดลองในกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการนวดฯ ปรากฏว่า สามารถลดอาการถอนนิโคตินด้านจิตวิทยาและเพิ่มสมรรถนะการจำสัญลักษณ์ตัวเลข รวมทั้งสามารถเพิ่มการ ผ่อนคลายหลังการนวดในแต่ละวันได้ (p<.05)          3) ผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการนวดฯ กับกลุ่มที่ใช้หมากฝรั่งนิโคติน ปรากฏว่า   กลุ่มที่ใช้หมากฝรั่งนิโคตินสามารถลดอาการถอนนิโคตินได้ดีกว่าในช่วงหลังเลิกบุหรี่วันที่ 2 และ 3 แต่ไม่มีความแตกต่างกันในช่วงหลังเลิกบุหรี่วันที่ 4          สรุปได้ว่า โปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยไทย สามารถลดอาการถอนนิโคตินได้ไม่แตกต่างกับการใช้หมากฝรั่งนิโคติน จึงอาจนำไปใช้เป็นวิธีทางเลือกในการลดอาการถอนนิโคตินและเพิ่มการผ่อนคลายในการเลิกบุหรี่ได้           Nicotine is a compound found in the cigarettes that can cause addiction, nicotine withdrawal symptoms and stress when stop smoking. The purposes of this study were to develop foot reflexology combined with a Thai aroma essential oils program for decreasing nicotine withdrawal symptoms and increasing relaxation in smoking cessation, and to compare results with those from an active control group which used only nicotine gum. The participants were sixty male volunteers from the Health Promotion Hospital, Klongkon District. They were randomly assigned to the experimental and the active control groups. Research instruments included the nicotine withdrawal scale in psychological tests and digit symbol substitution test, heart rate monitor, foot reflexology combined with a Thai aroma essential oils program, and nicotine gum. Data were analyzed by using MANOVA. The results were as follows:          1) Foot reflexology combined with a Thai aroma essential oils program comprised 16 foot points reflex and 2 Thai aroma essential oils (Bergamot and Ylang-Ylang). The massage sessions have been held during 40 minutes per day.          2) In the experimental group, foot reflexology combined with a Thai aroma essential oils program led to a decrease in nicotine withdrawal symptoms in psychological tests and an increase in memory performance of digit symbol substitution test. Moreover, it could enhance in relaxation after using the developed program.          3) The active control group exhibited lower levels of nicotine withdrawal symptoms in psychological tests on day 2 and day 3 after smoking cessation compared to the experimental group. However, the levels of nicotine withdrawal symptoms were not significantly different between groups on day 4 after smoking cessation.          In conclusion, foot reflexology combined with a Thai aroma essential oils program was found to be effective in decreasing nicotine withdrawal symptoms same as nicotine gum, and serve to identify this program as a new therapeutic intervention for reducing nicotine withdrawal symptoms and increasing relaxation after smoking cessation.

Downloads