การพัฒนาระบบคลังเสียงดิจิทัลด้านอารมณ์ความรู้สึกในบริบทของสังคมไทย
Keywords:
เสียงดิจิทัล, ด้านอารมณ์ความรู้สึก, ระบบคลังเสียงดิจิทัล, อารมณ์ความรู้สึกAbstract
เสียงคือสิ่งเร้าที่สำคัญในการสื่อความหมาย ความเข้าใจในสถานการณ์ หรือขยายเหตุการณ์ต่าง ๆ ของมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น เสียงจึงเป็นสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิด้านอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เสียงด้านอารมณ์ความรู้สึก เพื่อตรวจสอบคุณภาพของเสียงดิจิทัลด้านอารมณ์ความรู้สึกในบริบทของสังคมไทยด้านค่าความตรงเชิงเนื้อหา ค่าอำนาจจำแนก ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของเสียงดิจิทัลแต่ละเสียง ค่าความเที่ยงด้านอารมณ์ความรู้สึกแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านความประทับใจ ด้านการตื่นตัว และด้านการมีอิทธิพลและเพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบคลังเสียงดิจิทัลด้านอารมณ์ความรู้สึกในบริบทของสังคมไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนทั่วไป สัญชาติไทย อายุระหว่าง 18 ปี ถึง 60 ปี และไม่จำกัดเพศ เป็นผู้อาศัยอยู่ในประเทศไทย เป็นบุคคลที่มีความปกติทางการได้ยิน และยินยอมเข้าร่วม โดยเลือกตัวอย่างแบบอาสาสมัคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดอารมณ์ความรู้สึก (The Self-Assessment Manikin: SAM) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. การวิเคราะห์เสียงด้านอารมณ์ความรู้สึกในบริบทของสังคมไทย ที่ได้ผ่านการวิเคราะห์และผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ 6 คน จำนวนทั้งสิ้น 657 เสียง 2. เสียงดิจิทัลด้านอารณ์ความรู้สึกในบริบทของสังคมไทยที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว จำนวน 594 เสียง จำแนกตามอารมณ์ความรู้สึก 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความประทับใจ จำนวน 170 คำ (ลักษณะพึงพอใจ จำนวน 45 เสียง ลักษณะเฉย ๆ จำนวน 63 เสียง และลักษณะไม่พึงพอใจ จำนวน 61 เสียง 2) ด้านการตื่นตัว จำนวน 212 เสียง (ลักษณะตื่นเต้น จำนวน 148 เสียง ลักษณะเฉย ๆ จำนวน 46 เสียง และลักษณะสงบ จำนวน 18 เสียง) และ 3) ด้านการมีอิทธิพล จำนวน 212 คำ (ลักษณะกลัว จำนวน 37 เสียง ลักษณะเฉย ๆ จำนวน 85 เสียง และลักษณะไม่กลัว จำนวน 90 เสียง) 3. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบคลังเสียงดิจิทัลด้านอารมณ์ความรู้สึกในบริบทของสังคมไทย ในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้งานแล้วอยู่ในระดับดี Sounds are important stimuli for transferring meaning, understanding of situations, or better interpretation of events. Therefore, it can be concluded that sounds are stimuli which convey human emotion. The objectives of this research were to analyze the affective digital sounds in context of Thai society; and to assess the quality of the affective sounds in terms of content validity, discrimination index, mean and standard deviation of each sounds. The reliability of Thai sounds composed of three emotional domains, i.e. valence, arousal, and dominance. Additionally, the computerized affective sound bank system in Thai context was developed. The research sample was 400 Thai volunteers with normal hearing who lived in Thailand and aged between 18 and 60, with regardless of gender, educational level, and marital status. They were derived by convenient sampling. The Self-Assessment Manikin Scale were employed in the study, and t-tests were used to analyze the data. The research results were: 1. There were 657 Thai affective digitized sounds in Thai society context, compiled and passed the consideration of the 6 experts. 2. There were a total of 594 Thai affective sounds were validated. These sounds were classified into three emotional dimensions: 1) 170 valence sounds (45 pleasant, 63 neutral, and 61 unpleasant), 2) 212 arousal sounds (148 exciting, 46 neutral, and 18 calm), and 3) 212 dominance words (37 afraid, 85 neutral, and 90 unafraid). 3. Regarding the development of the Thai affective digitized sound bank system, it was produced as an online web application. Quality testing of the bank was assessed by computer experts and users and judged to be of a good standard.Downloads
Issue
Section
Articles