การเพิ่มเชาวน์ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาด้วยโปรแกรมการฝึกกระบวนการ ทางปัญญาเสมือนจริง : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง

Authors

  • สดใส ดุลยา
  • สุมาลี สมนึก
  • ปริญญา เรืองทิพย์
  • ปิยะทิพย์ ประดุจพรม

Keywords:

เชาวน์ปัญญา, ด้านมิติสัมพันธ์, โปรแกรมการฝึกกระบวนการ, ปัญญาเสมือนจริง, นักเรียนระดับประถมศึกษา, คลื่นไฟฟ้าสมอง

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกกระบวนการทางปัญญาเสมือนจริง (VR-CTP)   สำหรับเพิ่มเชาวน์ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา และผลของการใช้โปรแกรมการฝึก กระบวนการทางปัญญาเสมือนจริง ด้วยการเปรียบเทียบคลื่นไฟฟ้าสมองระหว่างก่อนกับหลังการทดลอง ใน กลุ่มทดลอง และจำแนกตามเพศและระดับเชาวน์ปัญญาทั่วไปหลังการทดลอง นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี ปีการศึกษา 2561 จำนวน 68 คน เป็นอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัย จัด  กลุ่มอาสาสมัครเข้ากลุ่มด้วยเกณฑ์การคัดกรองจำนวน 4 กลุ่ม (กลุ่มละ 17 คน) ซึ่งได้รับการฝึก จำนวน 12  ครั้ง ครั้งละ 10 นาที เก็บรวมรวมข้อมูลจากค่าพลังงานสัมบูรณ์ของช่วงความถี่คลื่นไฟฟ้าสมองย่าน Theta, Alpha, Low Beta และ High Beta บริเวณสมองส่วนฟรอนทอล ส่วนพาไรทัล และส่วนเทมโพรัล ขณะทำกิจกรรมการทดสอบผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์จากแบบทดสอบ Paper Folding Test, Card Rotation Test และ Mental Rotation Test ที่สร้างขึ้น สถิติที่ใช้ได้แก่ Repeated ANOVA และ 2-way MANOVA          ผลการวิจัยปรากฏว่า โปรแกรมการฝึกกระบวนการทางปัญญาเสมือนจริง มีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมากที่สุด ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ Maze Walker และ Construction Worker มี 6 ระดับการฝึกหลังการทดลอง ค่าพลังงานสัมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าสมองทุกช่วงความถี่สูงขึ้น บริเวณสมองส่วนฟรอนทอล  ส่วนพาไรทัล และส่วนเทมโพรัลในทุกแบบทดสอบ โดยเฉพาะช่วงความถี่ Alpha เพศชายต่ำกว่าเพศหญิง ในทุกบริเวณสมอง ขณะที่นักเรียนระดับเชาวน์ปัญญาทั่วไปสูงต่ำกว่า และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับระดับ เชาวน์ปัญญาทั่วไปในบริเวณสมองส่วนฟรอนทอล แสดงให้เห็นว่า การฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกกระบวนการทางปัญญาเสมือนจริงอย่างต่อเนื่องสามารถช่วยเพิ่มเชาวน์ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ได้           This study aimed to develop a Virtual Reality cognitive training program (VR-CTP) for enhancing the spatial intelligence in the primary school students, and to investigate the effect of the developed VR-CTP by comparing the accuracy score, response time, and absolute power before and after training program, between gender and general intelligence level after training. Sixty-eight students attending at Grade 5 of Anuban Chanthaburi School in academic year 2018 took part in the study. They were screened into 4 groups (17 experimental per groups). The experimental group underwent the VR-CTP training for 12 times (10 minutes each time). The Paper Folding Test, Card Rotation Test and Mental Rotation Test were used to collect absolute power of the band theta, alpha, low beta and high beta at the frontal, parietal, and temporal brain area. Data were analyzed by using the Repeated ANOVA and 2-way MANOVA.          The results showed that VR-CTP consists of 2 training activities (Maze Walker and Construction Worker in 6 levels. After training with the VR-CTP, the EEG absolute power for   alpha of the experiment group was increased in all spatial intelligence tests at the frontal, parietal, and temporal lobes, especially in the female group. Meanwhile, the students with a   high level of general intelligence had a lower level of alpha at the frontal lobe, and an interaction effect between gender and general intelligence level was also found, revealing the benefits of continuous practice with the VR-CTP.

Downloads