การเพิ่มเชาวน์ปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษาด้วยแอปพลิเคชัน ฝึกการรู้จักและเข้าใจตนเอง: การศึกษาเชิงพฤติกรรม

Authors

  • วชิรา แสนโกศิก
  • ภัทราวดี มากมี
  • พีร วงศ์อุปราช

Keywords:

เชาวน์ปัญญา, ด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง, แอปพลิเคชัน, ฝึกการรู้จักและเข้าใจตนเอง

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการใช้แอปพลิเคชันฝึกการรู้จักและเข้าใจตนเอง โดย 1) เปรียบเทียบคะแนนเชาวน์ปัญญาด้านการรู้จักตนเองจากแบบวัดกระดาษดินสอ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความ ถูกต้องและระยะเวลาตอบสนองจากแบบวัดด้วยคอมพิวเตอร์ ระหว่างก่อนกับหลังการใช้แอปพลิเคชัน และ 3) ทดสอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับเชาวน์ปัญญาทั่วไปหลังการใช้แอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ระดับประถมศึกษา จำนวน 80 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แอปพลิเคชันฝึกการรู้จักและเข้าใจตนเอง  และ 2) แบบวัดเชาวน์ปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเองกระดาษดินสอและคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที วิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง          ผลการวิจัยปรากฏว่า ผลการใช้แอปพลิเคชันฝึกการรู้จักและเข้าใจตนเอง วัดด้วยแบบวัดกระดาษดินสอแบบวัดคอมพิวเตอร์ พบว่า คะแนนเชาวน์ปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเองหลังการทดลองของกลุ่ม ตัวอย่างสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพบความแตกต่างระหว่างเพศต่อคะแนนเชาวน์ปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเองด้วยแบบวัดกระดาษดินสอ และระหว่างกลุ่มเชาวน์ปัญญา ทั่วไปสูงกับเชาวน์ปัญญาทั่วไปต่ำต่อคะแนนเชาวน์ปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง ด้วยแบบวัดคอมพิวเตอร์ และปรากฏผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับเชาวน์ปัญญาทั่วไป จากแบบวัดกระดาษดินสอ แต่ไม่มี ปฏิสัมพันธ์กันในคะแนนจากแบบวัดคอมพิวเตอร์ สรุปได้ว่า แอปพลิเคชันฝึกการรู้จักและเข้าใจตนเองสามารถเพิ่มเชาวน์ปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษาได้           The purposes of this study were to investigate the effect of the developed intrapersonal training application by comparing the different score of Intrapersonal Intelligence between preand-posttest within experimental groups between groups on gender and general intelligence, by comparing the response accuracy score and response time on intrapersonal intelligence test, before and after using training application. The eighty primary students were recruited and divided into four groups. The study was a Factorial design. The instrument consisted of 1) the intrapersonal training application, 2) the paper-pencil Intrapersonal intelligence and computerized Intrapersonal intelligence test, Data were analyzed using mean, standard deviation, t-test and two-way ANOVA.          The results demonstrated that results of using the intrapersonal training application being measured from a paper-and-pencil and computerized intrapersonal intelligence tests found that intelligence scores after the experiment were higher than before the experiment (p<.01). There were significantly differences between gender on the interpersonal intelligence score (paper-and pencil based test) and between high and low general intelligence on the interpersonal intelligence score (computerized based test). There was an   interaction effect between sex and general intelligence on the interpersonal intelligence score for both paper-and-pencil and computerized based tests          In conclusion, the intrapersonal training application could enhance the intrapersonal intelligence of primary school students.

Downloads