บทเรียนจากความล้มเหลวในการจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในเขตพื้นที่ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี

Authors

  • ธนวัฒน์ พิมลจินดา

Keywords:

การจัดการ, การพัฒนาแบบยั่งยืน, การพัฒนาชุมชน, การมีส่วนร่วมของประชาชน, องค์กรพัฒนาเอกชน

Abstract

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของประชาชนกลุ่มเป้าหมายขององค์กรพัฒนาเอกชนแห่งหนึ่ง เพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ใน 3 ตำบล ของอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี บนพื้นฐานแนวคิดการจัดการร่วมกัน (Co-management) ควบคู่กับการวิเคราะห์ตามองค์ประกอบของทฤษฎีระบบ (System Model) โดยใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน 126 ชุด จากประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาขององค์กรพัฒนาเอกชน ใน 3 ตำบล ผลการวิจัยพบว่า มีปัจจัยสำคัญ 3 ประการที่ส่งผลกระทบเชิงพลวัตต่อการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม คือ (1) สภาพพื้นที่และการตั้งบ้านเรือนที่อยู่กระจายตัวห่างกัน (2) การตั้งบ้านเรือนที่อยู่กระจายตัวห่างกันและอยู่ในสภาพพื้นที่ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การกำหนดกิจกรรมการพัฒนาขาดความครอบคลุมและขาดการตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และ (3) การขาดความสมดุลระหว่างจำนวนกิจกรรมการพัฒนาและจำนวนเจ้าหน้าที่ขององค์กรพัฒนาเอกชนที่สามารถเข้าถึงพื้นที่เพื่อการทำกิจกรรม ซึ่งยังเป็นผลสืบเนื่องให้การติดตามและประเมินผลการพัฒนา รวมทั้งการปรับปรุงแก้ไขแนวทางและวิธีการพัฒนาขาดประสิทธิภาพ            The objective of this research was to analyze the principal factors which affected the process of bolstering a targeted population’s participation in an NGO’s sustainable development activities in 3 sub-districts of Pan Thong district, Chonburi province, based on the concepts of co-management as well as components of the systems model. Mixed methods were applied, which were based mainly on qualitative data derived from focus groups and in-depth interview techniques, and quantitative data derived from 126 questionnaires which gathered from the targeted group of the NGO in the 3 sub-districts. The results of this research found that there were three interrelated factors affecting the process of public participation in sustainable development, namely: (1) the conditions of the area and the dispersed settlement pattern which inhibited communication and caused inconvenience for the people in engaging in development activities supported by the NGO; (2) the diversity of settled areas caused difficulty in establishing suitable activities needed for responding to the targeted groups in diverse but specific areas, and; (3) the imbalance between development activities needed for development and the number of NGO staff led to ineffective engagement of the staff with the community for project monitoring and evaluation, as well as for the process of project improvement.

Downloads