การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องกรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • อดิศักดิ์ บุญพิศ
  • โกวิท กิตติวุฒิศักดิ์

Keywords:

วิทยาศาสตร์, คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องกรด-เบส เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับนักเรียนที่เรียนโดยวิธีสอนปกติ และศึกษาเจตคติของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องกรด-เบส กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเขต 12 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 64 คน ใน 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และกลุ่มควบคุมเรียนโดยวิธีสอนปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าคือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องกรด-เบส แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกรด-เบส แบบวัดเจตคติที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องกรด-เบส สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องกรด-เบส เท่ากับ 0.89 นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเรื่องกรด-เบส สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องกรด-เบส มีเจตคติต่อการเรียนอยู่ในระดับดี            The purposes of this research were to study Effectiveness Index of Computer-Assisted Instruction (CAI) on Acid-Base, to compare student’s learning achievements between studying with CAI and traditional instruction, and to study attitude of the experimental group toward CAI on Acid-Base.            The selected sample consisted of 64 Mathayom Suksa V Students in two classrooms of Sichonkunathanvittaya School in the 12th Secondary Education Service Area District during the second semester of the academic year 2011. The students were divided into experimental group learning by CAI and control group learning by traditional instruction. The research instruments were CAI on Acid-Base, chemistry achievements test on Acid-Base and questionnaires on attitude toward CAI on Acid-Base. Statistics employed for data analysis were mean, standard deviation, and t-test. The results were as follows: the Effectiveness Index of CAI in chemistry on Acid-Base was 0.89, students learning by CAI had higher post-test mean score than ones learning by traditional instruction at the statistically significant .05 level, and student’s opinions toward the use of the CAI were at good level.

Downloads