รูปแบบการเรียนตระหนักรู้ตนเองด้านความรับผิดชอบของเด็กด้อยโอกาส โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 50 จังหวัดขอนแก่น

Authors

  • สวนีย์ ภิรมย์ไกรภักดิ์
  • ธร สุนทรายุทธ
  • สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์

Keywords:

participatory action research, Rajaprajanugroh 50 school, Khonkaen, รูปแบบการเรียน, ตระหนักรู้ตนเอง, ความรับผิดชอบ, เด็กด้อยโอกาส, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 50

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนตระหนักรู้ตนเองด้านความรับผิดชอบของ เด็กด้อยโอกาส และเพื่อประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนตระหนักรู้ตนเองด้านความรับผิดชอบของ เด็กด้อยโอกาส เทคนิคที่ี่ใช้ในการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัตการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ตามแนวคิดของ Kemmis and McTaggert (1998) ระยะแรกเป็นการเตรียมก่อนการวิจัย โดยเลือกพื้นที่ ศึกษาแบบเจาะจง ศึกษาบริบท สร้างความสัมพันธ์กับโรงเรียน สร้างเครือข่ายทีมวิจัย โดยใช้แบบสอบถาม การจัดกลุ่ม สนทนา (focus group) สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviews) คณะครูและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 46 คน ระยะที่ 2 เป็นการวางแผนและสร้างรูปแบบการเรียนตระหนักรู้ตนเองด้านความรับผิดชอบของเด็กด้อยโอกาส ดำเนินการสร้างร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่เกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยมีแนวคำถามการจัดกลุ่มสนทนาแบบสัมภาษณ์ พร้อมเครื่องมือบันทึกภาพ/เสียง ระยะที่ 3 เป็นการปฏิบัติการตามรูปแบบการเรียนตระหนัก รู้ตนเองด้านความรับผิดชอบของเด็กด้อยโอกาส นำไปใช้กับนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 20 คน โดยการสังเกตพฤติกรรม พร้อมบันทึกภาพ/เสียง ระยะที่ 4 เป็นการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนตระหนักรู้ตนเอง ด้านความรับผิดชอบของเด็กด้อยโอกาส ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย ร่วมกันสังเกต ติดตามประเมินผลและสะท้อนกลับ เมื่อพบข้อบกพร่อง จุดเด่น จุดด้อย เพื่อปรับปรุงแก้ไขจนสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและระยะที่ 5 เป็นการสังเคราะห์รูปแบบการเรียนตระหนักรู้ตนเองด้านความรับผิดชอบของเด็กด้อยโอกาสโดยใช้กระบวนการ วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทุกขั้นตอนของการวิจัยแล้วแก้ไขปรับปรุงออกมาเป็นรูปแบบการเรียนตระหนัก รู้ตนเองด้านความรับผิดชอบ ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการเรียนตระหนักรู้ตนเองด้านความรับผิดชอบของเด็กด้อยโอกาสที่สร้างขึ้นมีการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง โดยจัดกิจกรรมเห็นคุณค่าในตนเอง มี บทบาทหน้าที่ คือ 1.1) รักษาความสะอาดของร่างกาย แต่งกายถูกระเบียบ 1.2) มีความอดทน ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ 1.3) รู้จักประมาณตนในการใช้จ่าย 2) ด้านความรับผิดชอบต่อครอบครัว โดยจัดกิจกรรมสานสัมพันธ์แห่งสายใย มีบทบาทหน้าที่ คือ 2.1) เคารพ เชื่อฟังคำสั่งสอน (พ่อครู แม่ครู) 2.2) ช่วยเหลือ สมาชิกในครอบครัว 2.3) รักษา เชิดชู ชื่อเสียงของครอบครัว 3) ด้านความรับผิดชอบต่อโรงเรียน โดยจัดกิจกรรม โรงเรียนของฉัน มีบทบาทหน้าที่ คือ 3.1) รักษาความสะอาดบริเวณที่ได้รับมอบหมาย 3.2) รักษาผลประโยชน์ ชื่อเสียงของโรงเรียน 3.3) มีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนและ 4) ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โดยจัดกิจกรรม แบ่งปันเพื่อส่วนรวม มีบทบาทหน้าที่ คือ 4.1) จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 4.2) ร่วมกิจกรรมของ ส่วนรวม ชุมชนหรือสังคม 4.3) รู้จักหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ พลเมืองที่ดี 2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนตระหนักรู้ตนเองด้านความรับผิดชอบของเด็กด้อยโอกาส พบว่า 1) ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง ทำให้นักเรียนรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองชัดเจน มีความสำคัญเห็นคุณค่าตน มีสุขภาพแข็งแรง มีความอดทน รู้จักอดออม มุ่งมั่นในทุกสิ่ง เพื่อให้เกิดผลสำเร็จ 2) ด้านความรับผิดชอบต่อครอบครัว ทำให้นักเรียนรู้จักบทบาทหน้าที่ของการเป็นสมาชิกในครอบครัว เคารพ เชื่อฟังคำสั่งสอน (พ่อครู แม่ครู) ช่วยเหลือ รักษา ชื่อเสียงของครอบครัว 3) ด้านความรับผิดชอบต่อโรงเรียนทำให้นักเรียนรู้จักบทบาทหน้าที่ของ การเป็นนักเรียนให้ปฏิบัติตามที่ได้รับมอบหมาย ช่วยเหลือส่วนรวม รักษา ชื่อเสียงและผลประโยชน์ของโรงเรียน และ 4) ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้นักเรียนรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองใน การเป็นสมาชิกของสังคม ช่วยเหลือ แบ่งปันซึ่งกันและกัน ศรัทธา รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์The purposes of this study were to build model of learning self awareness in responsibility and Evaluate its effectiveness. This study was conducted through participatory action research (PAR) according to the action research spiral of Kemmis and McTagagart (1998). Pre research phas by choose area to study be specific context to build up friendship with school and network team research. The data collection though questionnaire focus group and In-depth interviews was used teacher pilot study and used the observed behavior for student from choose school with 20 people then followed by the participatory action research. The results showed that: 1. A model of learning self awareness in responsibility of unequal opportunity children, A model of learning have 4 activity as follows: 1) In responsibility for my self by activity duty to 1.1) Clean my self and be correct dress 1.2) endure attention study and work receive successfully 1.3) know one for pay 2. In responsibility for family by relationship activity duty to 2.1) obey parent 2.2) help member in family 2.3) preserve of family 3. In responsibility for school by my school activity 3.1) clean area school my receive 3.2) preserve of school 3.3) to join activity school. 4. In responsibility for social by portion for public duty to 4.1) to be loyal to country religion and great king 4.2) to join activity public 4.3) know duty and behave is people nice. 2.The effectiveness of the model; A model of learning self awareness in responsibility of unequal opportunity children as follows: 1. In responsibility for my self know duty appreciate my self have endure attention and be engrossed in successfully 2. In responsibility for family know duty obey, help and preserve for member family and parent 3. In responsibility for school know duty my self for student help, preserve and benefit for school and 4. In responsibility for social know duty my self help for member social, portion out and to be loyal to country religion and great king.

Downloads