การพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบสอบถามทักษะการจัดการความเครียดทางกีฬา ฉบับภาษาไทย
Keywords:
ทักษะ, การจัดการความเครียด, นักกีฬา, การวิเคราะห์, องค์ประกอบเชิงยืนยันAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบสอบถามทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักกีฬาเยาวชนไทยที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 35 จำนวน 764 คน เพศชาย จำนวน 403 คน และเพศหญิง จำนวน 361 คน อายุระหว่าง 8-19 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬา (The Athletics Coping Skills Inventory – 28: ACSI – 28) (Smith, Schutz, Smoll, & Ptacek, 1995) มีจำนวน 28 ข้อ แบ่งเป็น 7 ด้าน คือ การจัดการกับปัญหา การยอมรับคำแนะนำ สมาธิ ความเชื่อมั่นและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การตั้งเป้าหมายและการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจการแสดงความสามารถสูงสุดภายใต้ความกดดัน และอิสระจากความกังวล การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการแปลกลับจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดยผลการแปลกลับมีความถูกต้องและมีความเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้กับนักกีฬาเยาวชนไทย สถิติที่ใช้การในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ที่ดี (X2/df = 1.12, RMSEA = 0.018, NNFI = 0.99, CFI = 0.99, RMR = 0.026, GFI = 0.93, AGFI = 0.92) โดยทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬา ประกอบด้วย 7 ด้าน คือ การจัดการกับปัญหา การยอมรับคำแนะนำ สมาธิ ความเชื่อมั่นและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การตั้งเป้าหมายและเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ การแสดงความสามารถสูงสุดภายใต้ความกดดัน และอิสระจากความกังวล มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าแบบสอบถามทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬา ฉบับภาษาไทย สามารถใช้ประเมินทักษะการจัดการความเครียดทางการกีฬาได้ The purpose of this study was to develop and validate of athletics coping skills inventory (ACSI). The subjects were 764 athletes (403 males and 361 females) who participated in the 35th Student sport games in Thailand, 2014. These students were aged from 8 to 19 years. The athletics coping skills inventory was developed by Smith, Schutz, Smoll and Ptacek (1995) consisted of 28 items for seven factors; coping with adversity, coach ability, concentration, confidence and achievement motivation, goal – setting and mental preparation, peaking under pressure, and freedom from worry and translated into Thai language. Result indicated that the athletics coping skills inventory: Thai versions were correct and appropriate for Thai youth athletes. Data were analyzed using the mean, percentage, frequency, cronbach’s alpha coefficient and confirmatory factor analysis. This questionnaire was administered in the subjects’ sport competition. A confirmatory factor analysis revealed that the good fit model (X2/df = 1.12, RMSEA = 0.018, NNFI = 0.99, CFI = 0.99, RMR = 0.026, GFI = 0.93, AGFI = 0.92). The athletics coping skills consists of seven factors: coping with adversity, coach ability, concentration, confidence and achievement motivation, goal – setting and mental preparation, peaking under pressure, and freedom from worry. Alpha reliability was a 0.75. These analyses indicated that the Thai version ACSI questionnaire is a better fit and more powerful indicator for athletics coping skills.Downloads
Issue
Section
Articles