วิเคราะห์ปัจจัยความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของไทย

Authors

  • ปราณี ตปนียวรวงศ์

Keywords:

ความมั่นคงทางการเงิน, สหกรณ์ออมทรัพย์, อัตราส่วนทางการเงิน, การวิเคราะห์ปัจจัย

Abstract

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของไทย ใช้แนวคิด CAMEL Analysis และสกัดปัจจัยความมั่นคงทางการเงิน โดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์ปัจจัย Factor Analysis ประชากรคือข้อมูลงบการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของไทย รวม 16 จังหวัด 170 สหกรณ์ เลือกตัวอย่างโดยวิธีการเจาะจงเลือกจากข้อมูลงบการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกรอบของประชากร ได้ตัวอย่างจำนวน 158 สหกรณ์          ผลการวิเคราะห์ปัจจัย พบว่าค่าเฉลี่ยอัตราส่วนทางการเงินสามารถสรุป ปัจจัยความมั่นคงทางการเงินได้ 5 ปัจจัย ประกอบด้วย 1) ความพอเพียงของเงินทุน 2) คุณภาพของสินทรัพย์ 3) ความสามารถในการบริหาร 4) ความสามารถในการหารายได้และ 5) สภาพคล่อง โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของปัจจัยได้ ร้อยละ 81.90 ผลการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของไทย พบว่ามีค่าเฉลี่ย ดีกว่าค่าเฉลี่ยของสหกรณ์ออมทรัพย์ทั่วประเทศ ในมิติของความพอเพียงของเงินทุน คุณภาพของสินทรัพย์ และ สภาพคล่อง ส่วนมิติความสามารถในการหารายได้นั้น มีค่าเฉลี่ยที่ต่ำกว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ทั่วประเทศ และมิติความสามารถในการบริหารยังมีอัตราส่วนที่ต่ำกว่า ได้แก่ เงินออมต่อสมาชิกและกำไรต่อสมาชิก          ผลการวิเคราะห์เพื่อสร้างตัวแปรจำแนก (discriminant variate) ด้วยวิธี Stepwise Method พบว่า ตัวแปรที่สามารถใช้ในการสร้างสมการจำแนกกลุ่มความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ ภาคเหนือของประเทศไทยได้ มีจำนวนเพียง 3 ตัวแปรที่สามารถจำแนกประเภทได้ดีที่สุด ประกอบด้วย ตัวแปรในมิติความพอเพียงของเงินทุน คือตัวแปรอัตราการเติบโตของสินทรัพย์ มีค่า Wilks' Lambda เท่ากับ .678 และตัวแปรในมิติของสภาพคล่อง 2 ตัวแปร คือ อัตราการเติบโตของทุนสำรอง และอัตราการเติบโตของทุนสะสมอื่น โดยมีค่า Wilks' Lambda เท่ากับ .531 และ .481 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3 ตัวแปร          ผลการทดสอบความถูกต้องของสมการการจำแนกเพื่อใช้ในการพยากรณ์ความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย พบว่า สมการการวิเคราะห์สามารถจำแนกกลุ่มสหกรณ์ที่ไม่มีความมั่นคงทางการเงินได้ถูกต้องร้อยละ 83.3 ในขณะที่การจำแนกกลุ่มที่มีความมั่นคงทางการเงินได้ถูกต้องร้อยละ 98.7 ความถูกต้องของสมการโดยรวมเท่ากับ ร้อยละ 98.1           The purpose of this research was it to analyze factors of Saving Cooperatives’ financial stability in Northern Thailand. The CAMEL Analysis concept was used to extract financial stability factors. Data was collected from the financial reports of Saving Cooperatives in Northern Thailand, including 16 province and 170 cooperatives. Purposive sampling was used to sample 158 cases from the populations. From the research result it can be five stability factors summarized as follows: (1) capital adequacy, (2) asset quality, (3) management competency, (4) earning ability and (5) liquidity. It was also found that those factors could explain 81.9 percent of the total variance. The financial ratios analysis of Saving Cooperative in Northern Thailand showed that in average capital adequacy, asset quality and liquidity were better than for Saving Cooperative countrywide. In contrast, the average financial ratios of earning ability and management competency, especially, savings per member and profit per member were lower than for Saving Cooperative countrywide. The result generated using stepwise discriminant analysis showed that only three variables could be discriminated: the (1) capital adequacy, (2) growth in assets and (3) the growth in reserves as well as the growth in other reserves. The Wilks' Lambda for the growth of assets is 0.678. The Wilks' Lambda for the growth in reserves as well as the growth in other reserves are 0.31 and 0.481, respectively. The testing of the predictive equation showed that the financial stability of Saving Cooperatives in Northern Thailand could be projected with high accuracy. It was found that the predictive equation was able to accurately predict 83.3% of financially unstable cooperatives and 98.7% of financially stable cooperatives. Overall, it was found that the predictive equation was accurate for 98.1% of cooperatives.

Downloads