การศึกษาการนำผลการวิจัยด้านการท่องเที่ยวไปใช้ประโยชน์ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวผ่านเครือข่ายการท่องเที่ยว เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน

Study on the Application of Tourism Research Findings in the Tourism Industry Through the Tourism Network in the Andaman Tourism Cluster

Authors

  • วรรษิดา บุญญาณเมธาพร

Keywords:

ผลการวิจัยด้านการท่องเที่ยว, การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์, เครือข่ายการท่องเที่ยว, เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน, เครือข่ายการวิจัย, Tourism Research Findings, Application of Research Findings, Tourism Network, Andaman Tourism Cluster, Research Network

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำผลการวิจัยด้านการท่องเที่ยวไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวผ่านเครือข่ายการท่องเที่ยว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มกับภาคีการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน โดยกลุ่มตัวอย่างประชากรคัดเลือกจากหน่วยงานในพื้นที่ จำนวน 88 หน่วยงาน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์แบบแก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่า การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของภาคีท่องเที่ยวมีปัญหาและอุปสรรค 6 ด้าน ได้แก่ ความรู้ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลงานวิจัย ความเข้าใจงานวิจัย ความน่าเชื่อถือของข้อมูล คุณลักษณะงานวิจัย ความทันสมัยของงานวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัย นอกจากนี้ พบว่าภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวต้องการประเด็นวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ 12 ประเด็น โดยจำแนกตามกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยดังนี้ กลุ่มภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวใช้ประโยชน์ 5 ด้าน คือ 1) บุคลากรทางการท่องเที่ยว 2) สินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว 3) การตลาดการท่องเที่ยว 4) ธุรกิจท่องเที่ยว 5) กฏหมายการท่องเที่ยว กลุ่มภาครัฐและรัฐวิสาหกิจใช้ประโยชน์ 4 ด้าน คือ 1) งานวิชาการและการวิจัย 2) นโยบายและยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว 3) การคมนาคมขนส่ง 4) การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ และกลุ่มชุมชนใช้ประโยชน์ 5 ด้าน คือ 1) แหล่งท่องเที่ยว 2) สินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว 3) บุคลากรทางการท่องเที่ยว 4) การตลาดการท่องเที่ยว 5) อื่น ๆ เช่น การเขียนข้อเสนอเพื่อของบประมาณพัฒนาการท่องเที่ยว โดยกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยจำแนกได้ 4 กลุ่มเป้าหมาย คือ ภาคเอกชน ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ภาคชุมชน และภาควิชาการ  The objective of this research is to study the model of tourism network partnerships that can be utilized for tourism research findings. This study conducted by qualitative research methodology; data collected through group interviews. The samples were selected from 88 agencies from stakeholders in the Andaman tourism development area. The collected data were analyzed by Thematic analysis method. The research results were found that there were 6 problems and obstacles in the application of research results: 1) knowledge of access to research resources, 2) understanding of research, 3) reliability of information, 4) research features, 5) research modernization, and 6) dissemination of research results. The application of tourism research findings categorized by three groups of stakeholders including: (1) private sector or tourism entrepreneurs can take advantage of 5 areas: tourism personnel, tourism products and services, tourism marketing, tourism business, and tourism law; (2) government sector and state enterprises can take advantage of 4 areas: academic and research work, tourism policy and strategy,  transportation, the development of tourism potential in various fields; (3) community groups to use 5 aspects: tourist attractions, tourism products and services, tourism personnel, tourism marketing, and other areas such as writing proposals for requesting a budget for tourism development. The target groups that utilized research findings including 4 target groups (PPCA): private sector, public and state enterprise (public), community, and academic sector (academic).

References

กาญจนา แก้วแทพ. (2538). เครื่องมือทำงานแนววัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพฯ: สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา.

ดนุวัส สุวรรณวงศ์ และ ภัทรพงษ์ เกริกสกุล. (2559). การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) กับการเชื่อมต่อพื้นที่การท่องเที่ยวใน 4 รัฐ (กลันตัน เปรัค เคดาห์ และเปอร์ลิส) ประเทศมาเลเซีย. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ธนวิทย์ บุตรอุดม, วิศท์ เศรษฐกร, และ วยิดา เหล่มตระกูล. (2564). การพัฒนาระบบการจัดการเพื่อการขับเคลื่อนผลงานวิจัยไปสู่การพัฒนาจังหวัดลำปาง. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 10(2), 185-204.

นรินทร์ พุดลา. (2556). การนำผลการวิจัยไปใช้ในทางการบริหารการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2565. สืบค้นจาก http://www.slideshare.net/rooganawut/ss-4582098

นฤมล นิราทร. (2543). การสร้างเครือข่ายการทำงาน: ข้อควรพิจารณาบางประการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เบญจวรรณ สุจริต และ ชัชชัย สุจริต. (2560). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 12(2), 53-65.

ประเวศ วะสี. (2542). เศรฐกิจพอเพียงและประชาสังคม. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ภคิน ไชยช่วย. (2015). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ของบุคลากรและนักศึกษาเครือข่ายสถาบัน วิชาการสาธารณสุขและเทคโนโลยีทางการแพทย์สถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1), 136-146.

ภีราวิชญ์ ชัยมา และ สิริสาสน์ พันธ์มณี. (2563). การสร้างเครือข่ายและศูนย์กลางบริการข้อมูลธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(7), 169-182.

รัจน์ชีวาต์ ตั๋นติกุลวรา และ สุทธินันท์ โสตวิถี. (2562). การเสริมสร้างศักยภาพโดยการมีสวนร่วมของชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดจันทบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6(1), 92-105.

สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, (2559). ยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็นด้านการท่องเที่ยว (พ.ศ. 2555-2559). สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564, สืบค้นจาก https://www.kmutt.ac.th/rippc/nrct59/33s9.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, (2562). แผนพัฒนาภาคใต้ พ.ศ. 2560 – 2565 ฉบับทบทวน. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564, สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ ewt_dl_link.php?nid=8537

เสรี พงศ์พิศ. (2548). เครือข่าย: ยุทธวิธีเพื่อประชาคมเข้มข้น ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

Alexander, M., & Orton, H. (1988). Research in action. Nursing Times, 84(8), 38-41.

Anderson, W. & Sanga, J. (2019). Academia–industry partnerships for hospitality and tourism education in Tanzania. Journal of Hospitality & Tourism Education, 31(1), 34-48.

Braun, V. & Clarke, V. (2006). Using thematic Research in Psychology. Qualitative Research in psychology, 3(2), 77-101.

Estrin, S., Gozman, D., & Khavul, S. (2018). The evolution and adoption of equity crowdfunding: entrepreneur and investor entry into a new market. Small Business Economics, 51(2), 425-439.

Graci, S. (2013). Collaboration and Partnership Development for Sustainable Tourism. Tourism Geographies, 15(1), 25-42.

Gutierrez, E. L. M. (2019). Participation in tourism: Cases on community-based tourism (CBT) in the Philippines. Ritsumeikan Journal of Asia Pacific Studies, 37, 23-36.

Jamal, T., & Stronza, A. (2009). Collaboration Theory and Tourism practice in protected areas: stakeholders, structuring and sustainability. Journal of Sustainable Tourism, 17(2), 169-189.

Kapera, I. (2018). Sustainable tourism development efforts by local governments in Polnd. Sustainable Cities and Society, 40, 581-588.

Kaur, H., & Bains, A. (2013). Understanding the concept of entrepreneur competency. Journal of Business Management & Social Sciences Research, 2(11), 31-33.

Mitchell, J.C.S. (1968). Networks in Urban Situation. Manchester: Manchester University Press.

Ngo, T., Hales, R., & Lohmann, G. (2019). Collaborative marketing for the sustainable development of community-based tourism enterprises: a reconciliation of diverse perspectives. Current Issues in Tourism, 22(18), 2266-2238.

Sharma, Y. (2013). Women Enterpreneur In India. Journal of Business and Management (IOSR-JBM), 15(3), 09-14.

Starkey, Payl. (1997). Networking for Development. London: IFRTD

Wong, E. P., Mistilis, N., & Dwyer, L. (2011). A model of Asean collaboration in tourism. Annals of Tourism Research, 38(3), 882-899.

Downloads

Published

2022-10-26