ผลการให้คำปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมต่อพฤติกรรมการกล้ายืนยันตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Authors

  • พัชรินทร์ ทรัพย์ที่พึ่ง
  • อนงค์ วิเศษสุวรรณ์
  • ระพินทร์ ฉายวิมล

Keywords:

การให้คำปรึกษา, การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม, การกล้ายืนยันตนเอง

Abstract

บทคัดย่อ         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาผลการให้คำปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล  อารมณ์และพฤติกรรมต่อพฤติกรรมการกล้ายืนยันตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านบางพระ(ฉิ่งนาวิกอนุสรณ์) ปีการศึกษา 2554 ที่มีคะแนนพฤติกรรมการกล้ายืนยันตนเองตั้งแต่ 67.76  ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง  จำนวน 16 คน แบ่งกลุ่มโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 8 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มทดลองได้รับการให้คำปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม 13 ครั้ง  ครั้งละ 60-90 นาที ส่วนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มควบคุมไม่ได้รับคำปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผลอารมณ์ และพฤติกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรมการกล้ายืนยันตนเอง  และโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม การเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความแปรปรวนวัดซ้ำประเภทหนึ่ง ตัวแปรระหว่างกลุ่มและ หนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม  และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ แบบ นิวแมน- คูลส์ผลการวิจัยพบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มทดลองที่ได้รับการให้คำปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม มีคะแนนพฤติกรรมการกล้ายืนยันตนเองสูงกว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการกล้ายืนยันตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ABSTRACT        The purpose of this research was to study the effects of Rational Emotive Behavior group counseling on assertive behavior of mattayom suksa 2 students. The sample were mattayom suksa 2 students, AnubalBanbangpra School in the academic year 2011, who had assertive behavior score lower than  67.76  and  volunteer to join the study. The 16 students were a ssigned into two group: an experimental group and a control group  by simple random sampling method. The experimental group was intervened  for 13 sessions with  the group counseling based on Rational Emotive Behavior therapy, each session last  60-90 minutes.  While  the control group had no intervention . The instruments used in this  study included self-assessment on assertive behavior and the Rational Emotive Behavior group counseling program.  The  data  collecting  procedure was divided into three  phases: the pre-test, the post-test and the follow-up. The data were  analyzed  by  repeated-measures analysis of  variance: one  between - subjects variable and one within –subjects variable  and  paired-different  test  by  Newman-Keuls  procedure.The  results  of study indicated that there was statistically significant interaction at  .05 level between the method and the duration of experiment. Mattayom suksa 2 students in the experimental group have higher assertive behavior score than mattayom suksa 2 students  in  the  control  group,  in  the  post-test  and  follow-up  phases  with  statistically  significant  at  .05  level.

Downloads