การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมมโนทัศน์และเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Keywords:
รูปแบบการเรียนการสอน, มโนทัศน์, เจตคติต่อวิชาฟิสิกส์Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมมโนทัศน์และเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และเพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมมโนทัศน์และเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น 2) การสร้างรูปแบบการเรียนการสอน 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนและ 4) การประเมินผลและปรับปรุง ในขั้นการทดลองใช้รูปแบบการสอนมีแบบแผนการวิจัยที่มีกลุ่มควบคุมและทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (Pretest-Posttest Control Group Design) มีกลุ่มทดลองเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และกลุ่มควบคุมที่มีการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดมโนทัศน์ฟิสิกส์ และแบบวัดเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for dependent samples และ t-test for independent samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมมโนทัศน์และเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนประยุกต์ใช้มโนทัศน์ (Apply) 2) หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์ฟิสิกส์สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์สูงกว่ากลุ่มควบคุมในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purposes of this research were to develop the instructional model that enhances concepts and attitude toward physics of upper secondary school students, and to study the result of Instructional Model that enhances concepts and attitude toward physics of upper secondary school students. This research was R&D and had 4 processes as 1) studying basic information for developing instructional model 2) developing the instructional model 3) conducting a pilot study and 4) evaluating the instructional model. This study was based on pretest-posttest and the control group design was used to evaluate the effectiveness of the model. The samples were two classrooms of the grade 10 students. One classroom was serving as an experimental group taught instructional model development whereas the other was serving as a control group taught with the traditional instruction. Research instrument consisted of the instructional plans, the concepts physics test and the attitude toward physics test. Arithmetic mean, standard deviation and t-test were applied to analyze the results of the study. The research results found that : 1) Instructional Model that enhances concepts and attitude toward physics of upper secondary school students had all appropriate components for its quality in a high to highest level. The learning process consisted of 4 steps which were to prepare, to engage, to conceptualize and to apply. 2) The post-test score on concepts in physics of the experimental group was higher than of the pre-test and higher than that control group in overall at the .05 level of statistical significance. 3) The post-test score on attitude toward physics of the experimental group was higher than of the pre-test and higher than that control group in overall at the .05 level of statistical significanceDownloads
Issue
Section
Articles