การพัฒนาหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาแบบบูรณาการที่เน้นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนในจังหวัดภูเก็ตเพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Authors

  • สมควร ไข่แก้ว
  • สุนีย์ เหมะประสิทธิ์
  • ปรินทร์ ชัยวิสุทธางกูร
  • วนิดา ธนประโยชน์ศักดิ์
  • กมลวรรณ กันยาประสิทธิ์

Keywords:

การรู้สิ่งแวดล้อม, หลักสูตร, สิ่งแวดล้อม, การศึกษาแบบบูรณาการ, ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Abstract

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาแบบบูรณาการที่เน้นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนในจังหวัดภูเก็ตเพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และศึกษาการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนที่เรียนโดยใช้หลักสูตรฯ ที่พัฒนาขึ้นในด้านความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ด้านเจตคติต่อสิ่งแวดล้อม และด้านพฤติกรรมที่พึงปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาหลักสูตร การสร้างหลักสูตร การทดลองใช้หลักสูตร และการประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร ในขั้นการทดลองใช้หลักสูตร มีแบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้และแบบวัดการรู้สิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าที (t-test for dependent samples และ one-tailed test) ผลการวิจัยพบว่า            1. หลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาแบบบูรณาการที่เน้นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนในจังหวัดภูเก็ตเพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นหลักสูตรบูรณาการเนื้อหา และกิจกรรมแบบข้ามสาขาวิชาระหว่างวิชาวิทยาศาสตร์ 4 และสังคมศึกษา 4 โดยใช้รูปแบบการบูรณาการแบบการมีส่วนร่วม (Shared model) ร่วมกับรูปแบบการโยงใย (Webbed model) มีกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น            2. หลักสูตรฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 หน่วยบูรณาการ คือ ชีวภูมิศาสตร์ ทัวร์ป่าชายเลนบ้านเรา “ท่าฉัตรไชย” สู่แหล่งเรียนรู้คู่เมืองถลาง “ป่าเขาพระแทว” และ ท่องแหล่งน้ำสีชา “ป่าพรุบ้านไม้ขาว” ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกันในทุกองค์ประกอบ และมีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด            3. ในภาพรวมคะแนนเฉลี่ยการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนด้านความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ด้านเจตคติต่อสิ่งแวดล้อม และด้านพฤติกรรมที่พึงปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อม หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05            The purposes of this research were, 1) to develop the integrated environmental education curriculum with emphasis on outdoor learning resources in Phuket province to promotes environmental literacy of upper secondary school students; and 2) to study the result of a curriculum that promotes environmental literacy (environmental knowledge, attitude and appropriate behavior towards the environment) of upper secondary school students. The research procedures included 4 steps, 1) to study the fundamental data; 2) curriculum construction; 3) curriculum implementation; and 4) curriculum evaluation and revision. In steps of curriculum implementation, it was experimented with 40 students of the grade 11 class from Muangthalang school in Phuket province. The one group pretest-posttest design was utilized. The research instruments consisted of the instructional plans and environmental literacy test. The data were analyzed in terms of mean, percentage, standard deviation and t-test (t-test for dependent samples and one-tailed test). The research results found that:            1. The integrated environmental education curriculum with emphasis on outdoor learning resources in Phuket province to promotes environmental literacy of upper secondary school students was integrated with contents and activities of Science 4 and Social 4 subjects. This was completed by using shared and webbed model from the learning activity process with 5 steps of inquiry learning cycle (5Es).            2. This curriculum consisted of 4 integrated units, 1) Biogeography; 2) our mangrove forest tour (Tachatchai); 3) Learning resources respectable of Muangthalang (Khao Prataew forest); and 4) Field trip of brown water resources (Maikhao swamp forest). All the components in this curriculum were appropriate with high to the highest quality.            3. In an overall analysis, the mean of post-test score on environmental literacy (environmental knowledge, attitude and appropriate behavior towards the environment) was higher than those of the pre-test, and higher than the criteria at the .05 levels of statistical significance.

Downloads