คุณภาพชีวิตครอบครัวของนักเรียนวัยรุ่นในจังหวัดชลบุรี

Authors

  • เพ็ญนภา กุลนภาดล

Keywords:

คุณภาพชีวิต, ครอบครัว, นักเรียนวัยรุ่น

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตครอบครัวของนักเรียนวัยรุ่นในจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตครอบครัวของนักเรียนวัยรุ่นในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนวัยรุ่นที่ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดชลบุรี จำนวน 470 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดคุณภาพชีวิตครอบครัว ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยใช้กรอบแนวคิดของฮอฟแมนและคณะ ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดคุณภาพชีวิตครอบครัว โดยใช้สูตรความสอดคล้องภายในแบบอัลฟาของครอนบัค เท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้            1.นักเรียนวัยรุ่นในจังหวัดชลบุรี มีระดับคุณภาพชีวิตครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อแยกพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการสนับสนุนสิ่งที่สมาชิกในครอบครัวสามารถกระทำได้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านความอยู่ดีมีสุขด้านอารมณ์ ด้านความอยู่ดีมีสุขด้านร่างกาย ด้านความเป็นพ่อแม่ และ ด้านปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว ตามลำดับ            2. การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตครอบครัวของนักเรียนวัยรุ่นในจังหวัดชลบุรี จำแนกตาม ตัวแปรต้นพบว่า เพศ อายุ รายได้ของผู้ปกครอง สถานภาพสมรสของผู้ปกครอง อาชีพของบิดา และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนวัยรุ่นและผู้ปกครอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05            The two main objectives of this research were 1) to study adolescent students’ family quality of life 2) to investigate the factors that affect adolescent students’ family quality of life in Chonburi Province. The sample consisted of 470 adolescent students studying in lower secondary school in School in Chonburi Province. The instruments used to collect data including the Family Quality of Life Scale developed by the author under a conceptual framework of Hoffman (Hoffman et al. 2006), with Cronbach’s alpha reliability coefficient at 0.87. The statistics used in data analysis were percentage, mean, t-test and One-way ANOVA.            Results of the research were as follows:            1. The overall of adolescent students’ family quality of life in Chonburi Province was moderate. When considered by each component, it found that the family quality of life was moderate in all aspects. The scale of disability-related support has highest average followed by emotional well-being, physical well-being, parenting and family interaction scale respectively.            2. A comparative analysis of adolescent students’ family quality of life in Chonburi Province, when classified by variables it showed that gender, age, income, marital status of parents, occupation of father and the relationship between adolescent students and their parents were statistically significant differences at .05.

Downloads