จิตวิทยาศาสตร์ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในจังหวัดชลบุรี

Authors

  • นพมณี เชื้อวัชรินทร์

Keywords:

จิตวิทยาศาสตร์, เจตคติ, เจตคติต่อวิทยาศาสตร์, การปฏิบัติสมาธิ, Attitude, Scientific mind

Abstract

            การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับจิตวิทยาศาสตร์ และปัจจัยที่มีผลต่อจิตวิทยาศาสตร์หรือสามารถทำนายจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนจากการศึกษาระดับจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในจังหวัดชลบุรี โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจสังคม กับระดับจิตวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนรวมทั้งสิ้น 485 คน ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบ 3 ชุดได้แก่ แบบทดสอบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดการปฏิบัติสมาธิ และแบบสอบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นสถิติเชิงพรรณนาแสดงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด-ต่ำสุด การทดสอบไคสแควร์, โคลโมโกรอฟ-สเมอร์นอฟ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันสำหรับข้อมูลที่มีการวัดในระดับช่วงและมีการแจกแจงแบบปกติ การใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมนและการใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอย ผลการวิจัยสรุปได้ว่าภาพรวมความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เกี่ยวกับจิตวิทยาศาสตร์ของตนเองอยู่ที่ระดับปานกลางและพบว่าปัจจัยลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจและสังคมของนักเรียน บางประการอันได้แก่ เพศ กลุ่มอายุ ขนาดโรงเรียน เกรดเฉลี่ย เกรดรายวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาที่ชอบ มีความสัมพันธ์ กับระดับจิตวิทยาศาสตร์ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวก กับคะแนนเฉลี่ยจิตวิทยาศาสตร์คือ เกรดเฉลี่ย เกรดรายวิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนเฉลี่ย เจตคติทางวิทยาศาสตร์ คะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติสมาธิ และคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ส่วนตัวแปรที่สามารถทำนายจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้มีเพียงปัจจัยเดียวคือ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ (X) ซึ่งสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของคะแนนเฉลี่ยจิตวิทยาศาสตร์ (Y) ได้ร้อยละ 26.4 ได้สมการถดถอยคือ Y = 2.184+0.360 (X) นั่นคือ คะแนนเฉลี่ยของจิตวิทยาศาสตร์ = 2.184+0.360 (คะแนนเฉลี่ยของเจตคติต่อวิทยาศาสตร์)            This research aimed to study of the influencing factors on scientific mind could predict students among the eighth grade students in Chonburi province by analyzing the relationship between demographic factors, economic, social, and scientific mind level. Multistage random sampling was used to get 485 samples from the eighth grade students of the Chonburi provincial schools for data collection by three sets of self-testing questions including a test of Scientific attitude, Meditation experience, Attitude towards science. The data was analyzed by descriptive statistics presented in term of frequency, percentage, mean, mode, standard deviation, maximum and minimum value, chi-square test, Kolmogorov-Smirnov test for normal distribution, Pearson’s Product Moment correlation coefficient, Spearman’s coefficient of rank correlation and regression analysis. The findings revealed that the scientific mind of the eighth graded students was at the moderate level and the significant relationships were found to exist between the scientific mind level and some demographic, socioeconomic factors of the eighth grade students. Those were gender, age group, school size, average grade, science-grade, and favorite subject. It was also found that the factors which had significant positive-correlations with the scientific mind were its three components (Scientific attitude, Meditation experience and Attitude towards science), average grade and science-subject grade. There was only one factor that could predict the eighth-graded students’ scientific mind (Y). It was the attitude toward science (X) which could explain the change of the scientific mind at 26.4% and their relationship was shown by the regression equation asY = 2.184 + 0.360 (X). Thus, Scientific mind mean = 2.184 + 0.360 (Attitude towards science mean).

Downloads