การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาในชั้นเรียนที่เน้นการแก้ปัญหา

Authors

  • วาสุกรี ใจจันทร์
  • ลลิตพัทธ์ สุขเรือน

Keywords:

การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์, การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์, การแก้ปัญหา

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาในชั้นเรียนที่เน้นการแก้ปัญหาโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดการเรียนการสอนและการทดลองเกี่ยวกับการสอน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาแคลคูลัส 1 ชั้น ปีที่ 1 จำนวน 31 คน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี เรื่อง อนุพันธ์ฟังก์ชันพีชคณิตและฟังก์ชันอดิศัย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ การบันทึกภาคสนาม การบันทึกวิดีทัศน์และแถบเสียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์วิดีทัศน์ ผลงานของนักศึกษาและโพรโทคอล ผลการวิจัยพบว่า ชั้นเรียนที่เน้นการแก้ปัญหาทำให้นักศึกษาเข้าใจปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเองที่มีผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกโดยใช้คำถามในการเชื่อมโยงเชิงโมเดล การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ผู้สอนรวบรวมวิธีการแก้ปัญหาของผู้เรียนทั้งชั้นเรียนมาจัดเรียงแนวคิดอาศัยแนวคิดที่ไม่สมบูรณ์ขยายต่อเพื่อเชื่อมโยงทางการแสดงแทนการอภิปรายวิธีแก้ปัญหาและเปรียบเทียบวิธีการคิดทำให้นักศึกษาเชื่อมโยงเชิงโครงสร้างและการสรุปเพื่อเชื่อมโยงระหว่างขั้นตอนและความคิดรวบยอด การเชื่อมโยงระหว่างสาระของคณิตศาสตร์            This research aims to develop the mathematical connections of students in the classroom that emphasizes on problem solving using qualitative research in describing the phenomena that occurs during teaching and teaching experiment. The target groups were 31 people of the 1st year Students of the Faculty of Electrical Engineering, Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi, Suphanburi Campus who have enrolled the course of Calculus I on the topic of the differential algebraic and transcendental functions. The tools used to collect data were participant observation, interviews, field notes, video and audiotape recording, and analyzed the data obtained from video, the works of the students and the protocol. The results showed that the classroom that focuses on problem solving has made students understand mathematical problems on their own by having instructor as the facilitator using the modeling connections. In terms of mathematical problem solving, the instructor has compiled the solutions made by all students in the classroom and sorted the concepts of incomplete to extend to representational connections. The discussions for the solutions and the comparison of thinking methods have enabled students to make the structural connections and the mathematical concepts summarization emerged in the classroom in order to connect between procedure and concept, and between the strands of mathematics

Downloads