การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับคณบดีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร
Keywords:
ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำของผู้บริหาร, การพัฒนาตัวบ่งชี้Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของผู้บริหารและศึกษาความเป็นไปได้ของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับคณบดีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครที่เหมาะสมโดยมีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการวิจัยจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) พัฒนารูปแบบตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับคณบดีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครด้วยเทคนิคเดลฟายจากผู้เชี่ยวชาญ 19 คน 3) วิเคราะห์ความเหมาะสมของรูปแบบโดยประเมินผลความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารและคณาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 2750 คน ผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบกับตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 338 คนและสุ่มกลุ่มตัวอย่างมาศึกษาโดยวิธีกำหนดสัดส่วน (Proportional Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยมและค่าพิสัยควอไทล์ ผลการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพพบว่าตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับคณบดีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร ควรมีองค์ประกอบหลัก 6 ด้านคือ 1) ด้านเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ 2) ด้านเป็นผู้มีหลักธรรมาภิบาล 3) ด้านเป็นผู้มีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จของงาน 4) ด้านเป็นผู้มีความสามารถในการแก้ปัญหา 5) ด้านเป็นผู้มีความสามารถในการสื่อสาร 6) ด้านเป็นผู้มีความเชื่อมั่นในตนเองซึ่งในแต่ละด้านมีข้อคำถามที่มีค่ามัธยฐานตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป และมีค่าพิสัยควอไทล์ตั้งแต่ 1.50 ลงมา ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่าตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับคณบดีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเมื่อพิจารณาแต่ละตัวบ่งชี้พบว่าทุกข้อคำถามมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นกัน The purposes of the study were to develop the leadership indicator factors and to propose the leadership indicators for the dean of private higher education institutions in Bangkok. The methodology of the study consisted of three steps: 1) Analyzing the documents concerning the problems on leadership indicator factors; 2) Developing leadership indicator factors for the dean of private higher education in Bangkok by 19 expertises; 3) Analyzing the suitable model by evaluating the satisfactions of concerning expertises. The study population were 2750 administrators and instructors of higher education in Bangkok. The sample population consisted of 338 administrators and instructors which derived by proportional random sampling. The analysis of the data was accomplished by computation of the mean and standard deviation. The median and interquartile range were also computed to lest the opinions of respondents. Based upond the findings of this study, it was concluded that: 1. The data analysis of quality research found that the leadership indicator factors of dean for private higher education in Bangkok. The factors of leadership indicator consisted of vision, rule of low, achievement orientation, ability to solve the problem, ability to communicate and self-confident the median of each factor was 3.50 up and the inter quartile range was 1.50 which indicate the 19 expertise were agreed 2. The data analysis of quantity research indicated that the leadership indicator factors of dean for private higher education in Bangkok, in overall were at high level. However, when taking each aspect in to consideration, it was obvious that each factor was at high level as wellDownloads
Issue
Section
Articles