ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีระบบครอบครัวต่อภาวะการตัดขาดทางอารมณ์จากครอบครัว ของนิสิตระดับปริญญาตรีที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว

Authors

  • สุภัคกาญจ์ แก้วแกมเกษ
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล
  • วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์

Keywords:

ครอบครัวเลื้ยงเดี่ยว, ครอบครัว, นิสิตปริญญาตรี

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีระบบครอบครัวที่มีต่อภาวการณ์ตัดขาดทางอารมณ์จากครอบครัวของนิสิตระดับปริญญาตรีที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว และมีคะแนนภาวการณ์ตัดขาดทางอารมณ์ตามเกณฑ์ตั้งแต่ 87 คะแนนขึ้นไป จำนวน 20 คน สุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 10 คน ในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยเพศชาย 5 คน และหญิง 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดภาวะการตัดขาดทางอารมณ์จากครอบครัวและโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีระบบครอบครัว ผู้วิจัยดำเนินการทดลองให้การปรึกษากลุ่มจำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองแบบสองทาง สามองค์ประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งองค์ประกอบ แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทสอง ตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอร์โรนี            ผลการศึกษาพบว่า ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองและเพศ แต่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นิสิตในกลุ่มทดลองมีภาวะการตัดขาดทางอารมณ์จากครอบครัวแตกต่างจากกลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นิสิตในกลุ่มทดลองมีภาวะการตัดขาดทางอารมณ์จากครอบครัวในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลแตกต่างจากระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตชาย และนิสิตหญิงในกลุ่มทดลองมีภาวะการตัดขาดทางอารมณ์จากครอบครัวในระยะหลังการทดลองและระยะ ติดตามผลไม่แตกต่างกัน            This research aimed to study the effect of family system group counseling theory on family origin’s emotional cutoff of undergraduate students from single-parent families. The samples were 20 undergraduate students from single-parent families, Burapha University, who had emotional cutoff criteria from 87 and up. The simple random sampling method was employed to divide the samples into 2 groups: and experimental group and a control group. Each group consisted of 5 males and 5 females. The instruments were the measurement of emotional cutoff and the family system group counseling program. The intervention was administered for 10 sessions. Each session lasted about ninety minutes. The research design was three-factor experiment with repeated measures. This study was divided into 3 phases: the pretest, the posttest and the follow-up phases. The data were analyzed by repeated measure analysis of variance: two between-subjects variables and one within-subjects variable: Bonferroni’s multiple comparison was used to compare the differences.            The results revealed that there were no interactions between the methods, the duration of the experiment and the genders. However, there was statistically interaction between the methods and the duration of the experiment (p < .05). The undergraduates in experimental group and the control group were at the significant difference level of .05 during the posttest and the follow-up phases. The emotional cutoff in the experimental group during the posttest and the follow-up phases differs from the pretest phase at the significant level of .05. In addition, the differences between male and female in the experimental group were not found.

Downloads