ผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมต่ออิสระแห่งตนของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 1

Authors

  • จินตนา เบี้ยแก้ว
  • วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์

Keywords:

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม, นักศึกษาพยาบาล, การให้คำปรึกษา, ทฤษฎีอัตถิภาวะนิยม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิสระแห่งตนของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 1 โดยเปรียบเทียบผลการปรึกษาระหว่างระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและ ระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 1  ประจำปีการศึกษา 2556 ที่มีคะแนนอิสระแห่งตนต่ำกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 25 ลงมา โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ที่มีความสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 16 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดอิสระแห่งตน และโปรแกรมให้การปรึกษาตามทฤษฎีอัตถิภาวะนิยม ในกลุ่มทดลองจะได้รับการปรึกษา สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ รวมเป็น 12 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับการปรึกษาตามทฤษฎีอัตถิภาวะนิยม ระยะการเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของบอนเฟอรินี่          ผลการวิจัย พบว่า นิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 1 ที่ได้รับการปรึกษาตามทฤษฎีอัตถิภาวะนิยม มีค่าเฉลี่ยอิสระแห่งตนสูงกว่านิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 1  ที่ไม่ได้รับการปรึกษาตามทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 1 ที่ได้รับการปรึกษาตามทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมมีค่าเฉลี่ยอิสระแห่งตนในระยะหลังทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05          The purposes of this research were to study the autonomy of the first year nursing students and to compare the results of the consultation period; pre-trial, post-trial, and follow up. The participants used in this research were 16 students who were the first year nursing students year 2556. They had autonomy score lower than the 25th percentile. They were randomly assigned into two groups of eight; experimental group and controlled group. The research tools were autonomy scale and counseling program based on existentialism. The experimental group received 60-to-90-minutes counseling twice a week for 6 consecutive weeks (12 times in total) while the controlled group did not. The data collection was divided into three phrases; pre-trial, post-trial and follow up. The data were analyzed with repeated measures of variance; one variable between groups and one variable within group. When the difference was detected, it was tested with Bonferroni procedures. The research result shown that the autonomy of the first year nursing students who received counseling based on existentialism was higher than the control group in post-trial and follow up period at .05 significance level. Moreover, autonomy of the first year nursing students who received the counseling in post-trial and follow up period was higher than the pre-trial period at .05 significant level.

Downloads