การพัฒนารูปแบบการบริหารสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
Keywords:
การบริหารโรงเรียน, พระนครศรีอยุธยา, โรงเรียนขนาดเล็ก, การบริหารการศึกษาAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหาร 2) พัฒนาและนำเสนอรูปแบบการบริหารและ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย 2) สร้างรูปแบบการบริหารสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก 3) พัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้เทคนิคเดลฟาย จำนวน 3 รอบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยใช้การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 8 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา มี 5 องค์ประกอบ คือ ขอบข่ายและภารกิจการบริหารงาน 4 งาน กระบวนการบริหารแบบบูรณาการ ภาวะผู้นำทางวิชาการ การนิเทศภายในสถานศึกษา และการสอนงานแต่ละองค์ประกอบมีกิจกรรมที่ปฏิบัติได้จริง และกิจกรรมอันดับแรกของแต่ละองค์ประกอบหลักประกอบด้วย 1) ขอบข่ายและภารกิจการบริหารงาน 4 งาน ได้แก่ ด้านงานวิชาการ ผู้บริหารส่งเสริมให้มีการวางแผนงานวิชาการ 2) กระบวนการบริหารรูปแบบบูรณาการ ได้แก่ การนำข้อมูลการปฏิบัติงานที่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์มาวิเคราะห์สภาพปัญหาและวางแผนพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข พร้อมกับทำรายงานผลการปฏิบัติงาน เสนอต่อผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเมื่อสิ้นปีการศึกษา 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการได้แก่ ผู้บริหารมีคุณธรรมและจริยธรรม พากเพียร เสียสละ ยุติธรรมและเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน 4) การนิเทศภายในสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารส่งเสริมให้มีกิจกรรมการประชุมปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้คำปรึกษา และ 5) การสอนงาน ได้แก่ การระบุเป้าหมายในการเรียนรู้ ส่วนผลการประเมินรูปแบบการบริหารสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก มีความเป็นไปได้ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริง The purposes of this study were to investigate an element of administration model, to develop administration model for small-sized schools, and to examine the administration model for small-sized schools of Ayutthaya Primary Educational Service Area Office. The methodology consisted of four steps: 1) analyzing the documents concerning the funding risk management system in order to set up the conceptual framework; 2) constructing an administration model for small-sized schools; 3) developing the administration model for small-sized schools, employing Delphi technique involving three rounds comprising a total of 21 experts in Ayutthaya Primary Educational Service Area Office; and 4) examining the administration model by using a focus group discussion with 8 experts. The statistical data analysis involved of percentages, medians, means, and interquartile ranges. Based on the findings of the study, it was concluded that the administration model for small-sized schools of the Ayutthaya Primary Educational Service Area Office included 5 factors that involved four administrative tasks: an integrated administration process, academic leadership of the administrators, supervision and coaching. Each element had practical activities. The first practical activity of each administrative task was as follows: 1) scope of four administrative tasks whereby the academic Administrators encouraged the academic plan; 2) integrated administration process that takes the data practice work lead that don’t achieve the objectives and analyses the problem by stating and planning to develop, rectify, and complete practice work report, present it to the school executive or at the end of education year; 3) academic leadership of the administrators who have virtues and morality, persistence, sacrifice, are fair and see the common good more than their personal interest; 4) supervision by the executives to promote conferences to exchange knowledge, and consultation; 5) coaching that specifies learning. The results of applying the administrative model for small-sized schools concluded that all components and activities were suitable and acceptable to the stakeholders.Downloads
Issue
Section
Articles