การสร้างชุดการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่องอาหารและสารเสพติด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

Authors

  • ขนิษฐา ไชยหาญ
  • สพลณภัทร ทองสอน
  • สมศิริ สิงห์ลพ

Keywords:

วิทยาศาสตร์, การศึกษาและการสอน, มัธยมศึกษา, กิจกรรมการเรียนการสอน, การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้เรื่องอาหารและสารเสพติด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียน ประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 2 จังหวัดระยอง จำนวน 19 ห้องเรียน จำนวน 424 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 43 (บ้านคลองเขต) ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง จำนวน 12 คน ใช้เวลาในการทดลอง 21 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดการเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าที          ผลการวิจัยพบว่า          1.ได้ชุดการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่องอาหารและสารเสพติด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ซึ่งประกอบด้วย 7 ชุด คือ ชุดที่ 1 เรื่องอาหารและการทดสอบอาหาร ชุดที่ 2 เรื่องสารอาหารที่ให้พลังงาน ชุดที่ 3 เรื่องสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน ชุดที่ 4 เรื่องการกินอาหารให้ถูกสัดส่วน ชุดที่ 5 เรื่องโทษของการขาดสารอาหาร ชุดที่ 6 เรื่องสารปนเปื้อนในอาหาร และชุดที่ 7 เรื่องสารเสพติดโดยชุดการเรียนแต่ละชุดมีประสิทธิภาพเรียงลำดับดังนี้ 91.67, 91.67, 100, 91.67, 83.33, 100 และ 91.67          2. ชุดการเรียกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่องอาหารและสารเสพติด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีประสิทธิภาพ 92.86/83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80          3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่องอาหารและสารเสพติด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01          The purposes of this research were to construct and to find efficiency of learning package for Learning Area of Science on the unit “food and narcotics” for Matthayomsuksa 2 students by using problem-based learning model, and to study the science learning achievement of students through the science learning package. The population were about 424 of 19 class Matthayomsuksa two students in Rayong Primary Education Service Area Office 2 and the sample was composed of 12 students from Thairathwittaya 43 (Ban Khongket), Thombon Phayubnai, Whangchang District, Rayong province during the second semester of the year 2556. The amount of time spent in the experiment was 21 periods. The research instruments were a science learning achievement test. The statistical devices used in the research were mean, percentage and t-test analysis through computer programs.          The research revealed that:          1. the constructed of Learning Area of Science package on the unit “food and narcotics” for Matthayomsuksa two students using problem-based learning model, which were contain 7 package by following: 1 Food and Food Testing 2 Energetic Nutrient 3 Non-Energetic Nutrient 4 Balance Eating Habit 5 Danger of Malnutrition 6 Contaminant in Food 7 Narcotics in order. There were value of efficiency of those learning packages were at 91.67, 91.67, 100, 91.67, 83.33, 100 and 91.67;          2. the learning packages in the learning package for Learning Area of Science on the unit “food and narcotics” for Matthayomsuksa two students using problem-based learning model had the value of efficiency of 92.86/83.33, which was higher than the standard 80/80;          3. student’s achievement on Learning Area of Science on the unit “food and narcotics” for Matthayomsuksa two students using problem-based learning model learning packages post-test is significantly higher than the pre-test at .01 the level.

Downloads