การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง

Authors

  • บุษบาวรรณ วุฒิศักดิ์
  • สุรัตน์ ไชยชมภู
  • สมุทร ชำนาญ

Keywords:

ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารโรงเรียน, การจูงใจในการทำงาน

Abstract

          วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง โดยอาศัยแนวคิดของไลธ์วูดและคณะ (Leithwood et al., 1999) เกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและแนวคิดทฤษฎี 2 ปัจจัยของเฮอร์ซเบอร์ก (Herzberg’s, 1959) เกี่ยวกับแรงจูงในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง ทั้งหมด 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .23 - .76 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย (x) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product-moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)          ผลการวิจัย พบว่า          1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก          2. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลทางบวกต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05          3. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษามีอำนาจพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง ได้ร้อยละ 57.0 ได้สมการพยากรณ์ที่ดีที่สุดในรูปสมการคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้           Y = .592 + .363 (x1) + .260 (x6) + .227 (x4)           Z = .381 Zx1+ .275 Zx6 + .233 Zx4                 The purposes of this research were to study administrator’s leadership influencing to teacher’s motivation in the schools under the Office of Rayong Primany Educational Service Area. The sample of this study consisted of 335 teachers in primary schools by means of stratified random sampling. The instrument used for the data collecting was a five level rating scale questionnaire. The statistical devices utilized in analyzing the data were mean, standard deviation, and Stepwise Multiple Regression Analysis.          The result of study were as follow:          1. The administrator’s leadership and teacher’s motivation in the school Rayong Primary Educational Service Area were rated at high level.          2. The administrator’s leadership was affecting positively motivation’s under Rayong Primary Educational Service Area statistically significant difference at the level of .05          3. The administrator’s leadership could predict teacher’s motivation as a whole at 57.0 percent. The predicting value were shown in the raw scores and standard scores equations as follow:            Y = .592 + .363 (x1) + .260 (x6) + .227 (x4)           Z = .381 Zx1+ .275 Zx6 + .233 Zx4

Downloads