การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (3P) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Authors

  • ยุพาพันธ์ มินวงษ์
  • สุนีย์ เหมะประสิทธิ์
  • ธีรพงษ์ แสงประดิษฐ์.

Keywords:

การสอนแบบโครงงาน, วิทยาศาสตร์, การศึกษาและการสอน, มัธยมศึกษา, กิจกรรมการเรียนการสอน, การแก้ปัญหา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (3P) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อศึกษาผลของการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (3P) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา จังหวัดลพบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบความสามารถในการเขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนดำเนินการวิจัยใน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ขั้นที่ 2 สร้างรูปแบบการเรียนการสอน ขั้นที่ 3 การศึกษานำร่องและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ขั้นที่ 4 ศึกษาผลของการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ผลการวิจัยพบว่า          1.รูปแบบการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (3P) ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เตรียมความพร้อม (Preparation) มี 2 ขั้นตอนย่อย คือ 1.1 ขั้นเร้าความสนใจ 1.2 ขั้นทบทวนประสบการณ์ ระยะที่ 2 สร้างสรรค์โครงงาน (Project Creation) มี 4 ขั้นตอนย่อย คือ 2.1 ขั้นระบุปัญหา 2.2 ขั้นแสวงหาและคัดสรรแนวทางแก้ปัญหา 2.3 ขั้นวางแผนแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 2.4 ขั้นปฏิบัติการทำโครงงานและสรุปผล และระยะที่ 3 นำเสนอผลงาน (Presentation)          2. การสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (3P) พบว่านักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่ากลุ่มควบคุม ทั้งในภาพรวมและรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีพัฒนาการในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ระหว่างเรียนเพิ่มสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์อิสระทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 65) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (3P) ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก          The purposes of this research were to 1) develop of a science project instructional model with the emphasis on creative problem solving (3P) of the eighth grade students 2) study the effectiveness of the science project instructional model with the emphasis on creative problem solving (3P). The samples were the eighth grade students from Banmiwittaya school in Lopburi who were during the first semester of the academic year 2014. Two classes were assigned as an experimental group and a control group by cluster random sampling. The research instruments were tests of creative problem solving ability, assessment forms of science projects ability, tests of outline writing science projects ability, and questionnaire of the satisfaction towards 3P instructional model. The research procedures had four stages as; 1) studying basic relation of the study for developing an instructional model 2) instruction of model construction 3) pilot study and improving the instruction of model, and 4) implementation of the instruction model. The research results indicated that:          1. The science project instructional model with the emphasis on creative problem solving (3P) comprised 3 phases; 1) the preparation of engage and experience reviews 2) the project creation consisting of 4 stages as follow: identify problem stage, idea and selection stage, solution planning stage, and performance and conclusion stage, and 3) the presentation of projects.          2. The implementation of the science project instructional model found that; the post-test scores on creative problem solving of the experimental group were higher than their pre-test scores and the control group’s post-test scores at the statistically significant .01 level both overall and in every aspect. The ability to do unguided science projects increased at the .01 level of significance. The ability to do unguided science project were higher than the criterion (65%) at the .01 level of significance both overall and in every aspect, and the mean score of satisfaction towards the science project instructional model was at the high level both overall and in every aspect.

Downloads