การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการแบบ STEM รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมเรื่อง อ้อย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Authors

  • ศิริลักษณ์ ชาวลุ่มบัว
  • สุนีย์ เหมะประสิทธิ์

Keywords:

วิทยาศาสตร์, หลักสูตร, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ, สะเต็มศึกษา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรบูรณาการแบบ STEM รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม เรื่องอ้อย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) ศึกษาคุณภาพของหลักสูตรจากการประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและจากผลการทดลองใช้หลักสูตรใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้านความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม และด้านความคิดเห็นของครูที่มีต่อหลักสูตร ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ของโรงเรียนหนองหญ้าไซวิทยา จำนวน 81 คน และครูผู้ร่วมวิจัยจากโรงเรียนเดียวกันจำนวน 2 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า          1.ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าหลักสูตรบูรณาการแบบ STEM รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก          2.ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังทดลองใช้หลักสูตรบูรณาการสูงกว่าก่อนทดลองใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 65) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความสามารถในกาคิดอย่างมีวิจารณญาณและความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนหลังทดลองใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนทดลองใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ครูมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อหลักสูตรบูรณาการในทุกด้าน          The purposes of this research were: 1) to develop an additional STEM integrated science curriculum on “sugarcane” for the 9th grade students, 2) to study the quality of the curriculum by experts’ evaluation and by curriculum implementation in 4 aspects as follows: learning achievement, critical thinking ability and environmental awareness between before and after curriculum implementation and the teachers’ opinions towards the curriculum. The experimental design of One Group Pretest-Posttest Design was used to assess the quality of the curriculum. The sample used in the study consisted of 81 ninth grade students attending Nongyasaiwittaya School in the first semester of the 2014 academic year, obtained using the cluster random sampling and 2 science teachers. The data were analyzed in term of percentage, mean, standard deviation, t-test, and content analysis.          The results of the study indicated as follow:          1. The results of the curriculum evaluation by experts showed that the curriculum was appropriate at the high level and the curriculum components were internally consistent.          2. The results of the curriculum implementation showed that the mean scores of the learning achievement after were higher than before implementation at the statistically significant .01 level and higher than the criteria at the statistically significant .05 level. Critical thinking ability and environmental awareness after implementation were higher than before implementation at the statistically significant .05 level. The teachers had positive opinions towards the curriculum in every aspect.

Downloads