การพัฒนาทักษะการคำนวณทางเภสัชกรรมโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือวิธีเอส.ที.เอ.ดี

Authors

  • รวีวรรณ ช่วยบำรุง

Keywords:

การเรียนรู้ร่วมกัน, เภสัชกรรม

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคำนวณทางเภสัชกรรมโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือวิธี เอส.ที.เอ.ดี. กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (เทคนิคเภสัชกรรม) ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2556 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขลบุรี 36 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย เครื่องมือพัฒนาทักษะการคำนวณทางเภสัชกรรม ได้แก่แผนการสอนและบทเรียน จำนวน 4 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้วัดผลการพัฒนา เป็นแบบทดสอบแบบแสดงวิธีทำประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 5 ข้อทดสอบ จำนวน 4 ชุด และ แบบทดสอบรวบยอด 12 ข้อทดสอบจำนวน 1 ชุด ใช้ระยะเวลาในการพัฒนาสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มเดียว (One-sample t-test)ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือวิธีเอส.ทีเอ.ดี. นักศึกษามีคะแนนรวบยอดเฉลี่ย 30.25 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และมีจำนวนนักศึกษาร้อยละ 72.2 มีคะแนนพัฒนาการผ่านเกณฑ์ที่กำหนดจากผลการวิจัยสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือวิธีเอส.ที.เอ.ดี. สามารถพัฒนาทักษะการคำรวณทางเภสัชกรรมได้The objective of this research was to develop pharmaceutical calculation skills using the cooperative learning STAD method. The participants were 36 first-year pharmacy technique students at Sirindhorn College of Public Health Chonburi in the 2013 academic year. Four lesson plans were implemented to develop pharmaceutical calculation skills. The data were collected by a short essay. consisting of four sets of five formative test questions and a set of 12 summative test questions. The intervention process was carried out two hours a week for four weeks. The data were analyzed using descriptive statistics and one-sample t-test.The findings revealed that after applying the cooperative learning STAD method, students obtained average score of 30.25, which was significantly higher than specified criterion (p<.05). In addition, 72.2% of students inproved their learning achievement scores, passing the specified criterion, It can be concluded from these results that the cooperative learning STAD method is ad eddective approach to develop phamaceutical calculation skills.

Downloads