การประยุกต์ใช้โมเดลการวินิจฉัยเชิงจำแนกในการประเมินเพื่อวินิจฉัยทักษะความสามารถทางพุทธิปัญญาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในการแก้ปัญหาเรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
Keywords:
ปัญญา, คณิตศาสตร์ - - การศึกษาและการสอน, การแก้ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว, การวินิจฉัยเชิงจำแนกAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวินิจฉัยทักษะความสามารถทางพุทธิปัญญาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในการแก้ปัญหาเรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลการวินิจฉัยเชิงจำแนก (Diagnostic classification model) วิธีดำเนินการวิจัยผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาแบบทดสอบที่ใช้ในการประเมินเพื่อวินิจฉัยทักษะความสามารถทางพุทธิปัญญาในการแก้ปัญหาเรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ตามแนวคิดของ Embretson’s cognitive design system approach (CDS framework) และนำแบบทดสอบที่พัฒนาขึ้นไปทำการสอบกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,214 คน และนำผลการสอบมาวิเคราะห์ ข้อมูลในเชิงการวินิจฉัยด้วยโมเดลการวินิจฉัยเชิงจำแนก G-DINA model ผลการวิจัยพบว่ามีทักษะความสมารถทางพุทธิปัญญาที่ผู้เรียนใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จำนวน 5 ทักษะ ซึ่งนำมาสร้างแผนทักษะความสามารถทางพุทธิปัญญาที่ผู้เรียนใช้ในการแก้ปัญหาดืทั้งหมด 16 แบบแผนและจากการประเมินเพื่อวินิจัยทักษะความสามารถทางพุทธิปัญญาที่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,214 คน ใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวพบว่านักเรียนมีความรอบรู้ในทักษะการใช้สมบัติการเท่ากันในระบบจำนวนจริงเพื่อหาคำตอบของสมการมากที่สุด และมีความรอบรู้ในทักษะการแปลงโจทย์ปัญหาให้อยู่ในรูปของสมการเพื่อหาคำตอบน้อยที่สุด และยังพบว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความรอบรู้ในทักษะที่ใช้การแก้ปัญหาเรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวสูงกว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ทุกกทักษะในทำนองเดียวกันพบว่านักเรียนชายมีความรอบรู้ในทักษะที่ใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวสูงกว่านักเรียนหญิง จำนวน 2 ทักษะ และนักรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ มีความรอบรู้ในทักษะที่ใช้ในการปัญหาเรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวสูงกว่านักเรียนแผนการเรียนทั่วไปทุกทักษะ The purpose of this research study was to assess the lower secondary school students’ cognitive Skills in solving linear equation problems by using a diagnostic classification model. The diagnostic test was standardized-administered with 1,1214 students and scored in a consistent and standard manner, by using the Embretson’s Cognitive Design System Approach (or CDS framework). The data from the assessment were analyzed by using diagnostic classification model (G-DINA model). The results showed five cognitive skills and 16 cognitive patterns, which students used to solve the linear equation problems. The property of equality was the cognitive skill, which the majority of lower secondary school students had Mastered. In contrast, translating word problems into a system of equations was the cognitive skill, which most of the students had not mastered. The results also revealed that Mathayomsuksa three students (or equivalent to Grade 9 in junior high school) had mastered all the cognitive skills more than Mathayomuksa one and two students had mastered. In addition, the results showed that male students mastered the cognitive skills more than female students. Most of the students in the Mathematics-Sciences academic program mastered all cognitive skills more than those in the general program.Downloads
Issue
Section
Articles