การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์กรสันติวัฒนธรรม

Authors

  • ศิริโชค พิพัฒน์เสถียรกุล
  • สมุทร ชำนาญ
  • สมโภชน์ อเนกสุข

Keywords:

โรงเรียน - - การบริหาร, ความรุนแรงในโรงเรียน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์กรสันติวัฒนธรรม และเพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์การสันติวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposeful sampling) รอบที่ 1 เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาจากสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษาตามประกาศของคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2550 จำนวน 44 แห่งผู้ให้ข้อมูลแห่งละ 5 คนรวมจำนวน 220 คน รอบที่ 2 เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำกลยุทธ์ไปใช้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู จากสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมจำนวน 44 แห่ง และจากสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 4 ที่ไม่เข้าร่วมโครงการจำนวน 44 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลแห่งละ 2 คน รวมจำนวน 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม   การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อวิเคราะห์ค่าสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการนำกลยุทธ์ไปใช้ของกลุ่มสถานศึกษา ตัวอย่างการวิจัยทั้งสองกลุ่มโดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่า Effect Size      ผลวิจัยพบว่า      สภาพการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์กรสินติวัฒนธรรมอยู่ในระดับมาก สำหรับกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์กรสันติวัฒนธรรม ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 ปลูกฝังแนวคิดเชิงบวกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาประสิทธ์ภาพการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมภิบาล กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริม และสนับสนุน การใช้วินัยเชิงบวกในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนอย่างรอบด้าน กลยุทธ์ที่ 4 ปลูกฝังทัศนคติ การเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาประสิทธิภาพระบบการเจรจาไกล่เกลี่ยในสถานศึกษา และกลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสริมการเจรจาไกล่เกลี่ยโดยเพื่อน      ผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการนำกลยุทธ์ไปใช้ของกลุ่มสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา พบว่า กลยุทธ์ทั้ง 6 ข้อมีความเป็นไปได้ด้วยค่าเฉลี่ยที่สูงกว่าระดับปานกลาง เมื่อเปรียบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมมีความแตกต่างกันกับกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการ แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายกลยุทธ์ พบว่า มีกลยุทธ์ที่ไม่ต่างกันคือ     กลยุทธ์ที่ 1 ถึงกลยุทธ์ที่ 4 มีเพียงกลยุทธ์ที่ 5 และ 6 ที่สถานศึกษากลุ่มที่ไม่เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมไม่เห็นด้วยกับการนำกลยุทธ์ไปใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน  The purposes of this research were to study conditions of school administration at the basic education level to the organization of peace culture and to develop strategies for transforming school at the basic education level to the organizations of peace culture. The participants of this study consisted of two groups that were purposefully selected. The first group included 220 administrators, teachers and school committee from 44 schools which were developed in this case by the Ministry of Education in 2007. The second group comprised of 176 administrators and teachers from the first 44 school and 44 general schools, which were form Chiang Rai Primary Education Service Area Office 4. The research instruments were questionnaires. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, and effect size.       The findings were as follows:       The conditions of school administration at the basic education level to the organizations of peace culture were at the high level. The strategies for transforming schools at the basic education level to the organizations of peace culture were as follows: (1). to inculcate positive thinking to increase efficiency of work in the organization (2) to develop the efficiency of school administration by employing good governance (3) to enhance and support positive discipline for student development of all skills. (4) to inculcate attitudes of respecting individuals diversity. (5) to develop the efficiency of mediation system in school, and (6) to support the negotiation by friends in schools.      The analysis of possibility to use all six strategies in Thai society present with the first 44 school were possible but different when comparing with the 44 general schools group. There were 4 strategies that they supported together as strategies  1st – 4th but only the 5th and 6th of strategies were impossible in the general school’s opinion.

Downloads