การพัฒนารูปแบบการประเมินผลตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Authors

  • เกษมสันต์ พานิชเจริญ
  • สุปราณีวิ์ ขวัญบุญจันทร์
  • อนันต์ มาลารัตน์
  • วาสนา คุณาอภิสิทธิ์

Keywords:

พลศึกษา - - การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), การประเมินตามสภาพจริง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินผลตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยศึกษาข้อมูลจากนักเรียน ครู และผู้ปกครองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 28 คน ใช้แนวทางการวิจัยและการพัฒนา (Research & Development) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Approach) กำหนดความมุ่งหมายเฉพาะไว้ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหา และความต้องการในการพัฒนารูปแบบ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการประเมินผลตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัย พบว่า                 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบ พบว่า ครูพลศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง ขากความเข้าใจในเรื่องของการประเมินผลตามสภาพตามจริงในการจัดการเรียนรู้พลศึกษา โดยส่วนใหญ่มีการประเมินด้านทักษะกีฬาอย่างเดียว ไม่ปรากฏรูปแบบการประเมินผลตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาที่ชัดเจน เกณฑ์การให้คะแนน และประเมินผลตามสภาพจริงไม่ครบทั้ง 5 ด้าน และในส่วนของนักเรียนนั้นพบว่า ต้องการให้มีการประเมินผลการเรียนรู้ตามความเป็นจริง โดยคำนึงถึงศักยภาพและความชอบของนักเรียนแต่ละคน และควรมีโอกาสวางแผนร่วมกับผู้สอนในการกำหนดเกณฑ์การประเมิน เพื่อให้ผ่านเกณฑ์และเป็นไปตามความสามารถที่แท้จริงของนักเรียน                 2.  ผลการสร้างรูปแบบ พบว่า รูปแบบฯ ที่เหมาะสมควรประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประเมินฯ ควรประกอบด้วย ครู นักเรียน เพื่อน และผู้ปกครอง 2) สิ่งที่มุ่งประเมินต้องครอบคลุมครบ 5ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเจนคติ ด้านทักษะ ด้านสรรถภาพทางกาย และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 3) กระบวนการประเมิน ควรมีขั้นตอนอย่างน้อย 2 ขั้นตอน คือ 3.1 การเตรียมการประเมิน ซึ่งจะต้องมีการวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด กำหนดจุดมุ่งหมายของการประเมิน กำหนดเกณฑ์การประเมิน สร้างเครื่องมือและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ และ 3.2 ดำเนินการประเมินโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 4) การตัดสินผลการประเมิน โดยต้องวิเคราะห์เปรียบเทียบกับเกณฑ์และคำนึงถึงพัฒนาการของผู้เรียน และ 5) การสะท้อนป้อนกลับผลการประเมิน และนำผลประเมินไปใช้โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง This study aimed to develop an authentic-assessment model in physical education learning management for Mathayomsuksa 3 students. The participants were students, teacher, and parents (n = 28) from targeted educational institution. This study employed a research and development approach with mixed-method research methodology. The study had two specific objectives as follows: 1) to identify general context, existing problems, and the needs of learning assessment model (problem and needs) 2) to design an authentic-assessment model in physical education learning management for Mathayomsuksa 3 students. 1. The study showed that physical education teachers, students, and parents basically lacked in understanding of the authentic assessment in Physical Education. Existing authentic assessment focused only on students’ sport skills without the consistent physical education learning management. Additionally, there was a lack of scoring criteria. Also the assessment was not completely conducted in a total of five areas. In order to ensure compliance with the criteria requirement, the students had expressed their needs to be a part of the lesson planning stage along with their teacher, and the students would like the assessment to be reported through their personal competency and preference as planned. 2. The study also showed that a proper model should consist of five following components: 1) Stakeholders in the assessment should include teacher, students, friend and parents, 2) Assessing objective should engage five areas in Physical Education; knowledge, attitude, skills, performance, and desired characteristics, 3) Assessment procedure should consist of at least two phases ; 3.1) assessment preparation that requires analysis of standard and indicators. These would determine purposes of the assessment, assessment criteria, assessment tools developing and assessment evaluation tools. 3.2) assessment procedure that conducted by stakeholders. 4) Assessment result analysis should lean on the criteria and take into account of learner’ development 5) Assessment feedback should be considered and implemented by stakeholders.

Downloads