รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น

Authors

  • สุธรรม ธรรมทัศนานนท์

Keywords:

รูปแบบ, การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน, การพัฒนาท้องถิ่น

Abstract

การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น และพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 136 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling การศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จำนวน 3 โรงเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาหัวหน้ากลุ่มสาระครูผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การตรวจสอบร่างรูปแบบและการประเมินรูปแบบฯ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เลือกแบบเจาะจง (PurposiveSampling) การยืนยันตรวจสอบความเหมาะสมและเป็นไปได้กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จัดสนทนากลุ่ม ( Focus Group ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมิน แบบบันทึก สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและดัชนีความต้องการจำเป็น PNIผลการวิจัย พบว่า1.สภาพปัจจุบันการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากสภาพที่พึงประสงค์การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก2.รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนาท้องถิ่น มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก และรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนาท้องถิ่น แบ่งเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 วัตถุประสงค์ แนวคิด และหลักการของรูปแบบ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 สภาพแวดล้อมภายนอก องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยป้อนเข้า องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการ องค์ประกอบที่ 4 ผลผลิต/ผลลัพธ์ องค์ประกอบที่ 5 ข้อมูลป้อนกลับ ส่วนที่ 3แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ ส่วนที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ

Downloads