รูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มงานวิชาการของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

Authors

  • พัฒนรัตน์ มณฑลอนันต์ธร
  • สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์
  • สมพงษ์ ปั้นหุ่น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ตรวจสอบและศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มงานวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory action research: PAR) โดยมีผู้มีส่วนได้เสีย(stakeholder) จำนวน 34 คน ทีมนักวิจัยภายใน จำนวน31 คน ดำเนินการวิจัย จำนวน 3 รอบ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2556 ถึงเดือนมกราคม 2558เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ศึกษาข้อมูล เอกสาร หลักฐาน และการปฏิบัติงาน การสังเกต การสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง (การสัมภาษณ์เชิงลึก) การสัมภาษณ์กลุ่ม การทดสอบ การตรวจผลการปฏิบัติงาน และการวิเคราะห์เชิงปรากฎการณ์วิทยาในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณผลการวิจัยพบว่า1. รูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มงานวิชาการ โดยกำหนดแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัด (KPI)ประกอบด้วยกิจกรรมดำเนินงาน9กิจกรรมคือ พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการความรู้และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสร้างคลังความรู้ สร้างและพัฒนาทีมงานการจัดการความรู้ จัดตั้งและพัฒนาศูนย์ข้อมูลการจัดการความรู้ จัดตั้งและพัฒนาเครือข่ายการจัดการความรู้ สร้างภาวะผู้นำในการจัดการความรู้ พัฒนาทักษะการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างวัฒนธรรมองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน 2. การตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มงานวิชาการภายหลังการดำเนินงานกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จำนวน3 รอบ พบว่า ดัชนีตัวชี้วัด (KPI) คุณภาพตามแนวทางการจัดการความรู้ทุกดัชนี ผ่านเกณฑ์ประเมินทุกดัชนี กล่าวคือ2.1 กระบวนการการจัดการความรู้ประกอบด้วย การจัดทำแผนยุทธศาสตร์และโครงการจัดการความรู้ การจัดทำคู่มือ อบรมประชุมเสวนาเกี่ยวกับแผนงานโครงการ จัดตั้งทีมงานปฏิบัติการและจัดตั้งศูนย์เครือข่ายการจัดการความรู้ การสร้างภาวะผู้นำและผู้ตามให้กับทีมงาน การพัฒนาองค์ความรู้จากการสืบค้นและศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทีมงาน การแต่งตั้งคณะทำงานประจำศูนย์ คณะทำงานบริหารเครือข่าย คณะทำงานจัดทำมาตรฐานการจัดการความรู้ สร้างคลังความรู้ในเว็บไซต์ใยแมงมุม จัดเก็บและเผยแพร่องค์ความรู้ การสร้างเจตคติที่ดีให้กับผู้เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบและสารสนเทศในเว็บไซด์แมงมุม เผยแพร่สารสนเทศBest practice อย่างต่อเนื่อง ประเมินผลเว็บไซด์2.2 กระบวนการการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย การให้ความรู้และฝึกอบรมเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง จัดทำโครงการเพื่อทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ทักษะการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน ศึกษางานวิจัย ศึกษาดูงาน และนิเทศติดตามผล การจัดทำห้องปฏิบัติการศูนย์การจัดการความรู้การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการความรู้ การสรรหาอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้ความรู้และทักษะการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยี ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สร้างและปรับปรุงเครื่องมือวัดและประเมินผลบริหารงบประมาณเพื่อเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์และเทคโนโลยี ติดตามประเมินผลการใช้งบประมาณเพื่อส่งเสริมการจัดการความรู้ รวมทั้งสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากร 3. ผลการดำเนินงานตามรูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มงานวิชาการพบว่าความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้ของบุคลากรในกลุ่มงานวิชาการอยู่ในระดับดีมาก เจตคติเกี่ยวกับการจัดการความรู้ อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ความร่วมมือการปฏิบัติงานจัดการความรู้ อยู่ในระดับดีมาก ความพึงพอใจผลที่เกิดจากการพัฒนาอยู่ในระดับดีมาก และผลการปฏิบัติงานการจัดการความรู้ด้านคุณภาพอยู่ในระดับสูงมาก

Downloads