กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา ทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

Authors

  • ปณตนนท์ เถียรประภากุล
  • สันติ บูรณะชาติ
  • น้ำฝน กันมา
  • โสภา อำนวยรัตน์

Keywords:

กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ, การจัดการเรียนรู้, ทักษะการคิดขั้นสูง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพบริบทและปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และเพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ดำเนินการสร้างกลยุทธ์จากผลการศึกษาสภาพบริบทจากพหุกรณีศึกษาของโรงเรียนที่มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศโดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 33 คน และผลจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร รวมทั้งผลจากการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 396 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรตามแนวทางของยามาเน่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนรองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างแบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพบริบทโดยการวิเคราะห์SWOT Analysisสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนกำหนดกลยุทธ์โดยใช้ SWOT Matrix ตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์โดยการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 13 ท่านผลการวิจัย พบว่า1. สภาพบริบทการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนที่มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศจากพหุกรณีศึกษาในภาพรวมพบว่า จุดแข็ง ได้แก่ การใช้หลักการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้จุดอ่อนที่พบ คือ ภาระงานของครูและจำนวนนักเรียนต่อห้องมีมาก โอกาส ได้แก่ ความเชื่อมั่นศรัทธาต่อโรงเรียนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อุปสรรคที่พบ คือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางด้านการศึกษาอยู่บ่อยครั้ง และปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดคือทักษะด้านมโนภาพของผู้บริหารโรงเรียน รองลงมา คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนคุณลักษณะส่วนบุคคลของนักเรียนที่ส่งเสริมการคิด ความเชื่ออำนาจภายในตนของนักเรียนพื้นฐานครอบครัวสัมพันธภาพภายในครอบครัวพฤติกรรมการสอนของครูตามการรับรู้ของนักเรียนและบรรยากาศในการเรียนรู้ทางกายภาพ2. กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประกอบด้วย 6 กลยุทธ์หลัก 12 กลยุทธ์ย่อย 15มาตรการ และ 15 ตัวชี้วัด

Downloads