การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ตามแนวการคิดเชิงระบบและ การเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัย

Authors

  • ดารา วิมลอักษร
  • สมชาย วรกิจเกษมสกุล
  • สมยศ ชิดมงคล
  • วัชรีย์ ร่วมคิด

Keywords:

ยุทธศาสตร์, การคิดเชิงระบบ, การเรียนรู้แบบโครงงาน, การคิดเชิงวิทยาศาสตร์, การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ตามแนวการคิดเชิงระบบและการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย และศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ฯ ที่พัฒนาขึ้นโดยมีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ได้แก่1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 2) พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ และศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่เด็กชั้นอนุบาล 2 อายุ 5-6 ปี โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2558 ได้มาโดยการสุ่มจำนวน 2 ห้อง จับสลากกลุ่มทดลองจัดการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ฯและกลุ่มควบคุมจัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบแบบสังเกตพฤติกรรม ใช้แผนการวิจัยกึ่งทดลองตามรูปแบบการทดลองกลุ่มควบคุมที่ไม่เท่าเทียมกัน (Non-equivalent ControlGroup Pretest Posttest Design)และวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบทีแบบไม่อิสระ(Dependent samples t-test ) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียว (One way MANOVA)ผลการวิจัย พบว่า1.ยุทธศาสตร์ฯที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบได้แก่ 1) ชื่อยุทธศาสตร์ 2) ความเป็นมาและความสำคัญ 3)ทฤษฎีที่พัฒนายุทธศาสตร์ 4) หลักการ 5) จุดมุ่งหมาย 6) กระบวนการของยุทธศาสตร์ประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่ 6.1) กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นจุดประกายการคิด ขั้นพิชิตการค้นหา ขั้นพากันร่วมสร้าง ขั้นจัดวางระบบความรู้ และขั้นสรุปสู่การนำเสนอ 6.2) การจัดปัจจัยสนับสนุนและการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และ 7) การวัดและประเมินผลตามยุทธศาสตร์2. ผลการใช้ยุทธศาสตร์ฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มทดลอง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads