การพัฒนาโปรแกรมการปรึกษาเชิงวิภาษวิธีต่อการคืนสภาวะเข้มแข็ง หลังเผชิญภาวะวิกฤติของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
Keywords:
การปรึกษาเชิงวิภาษวิธี, การคืนสภาวะเข้มแข็งหลังเผชิญภาวะวิกฤติ, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, การวิจัยแบบทดลองAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง (Experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการปรึกษาเชิงวิภาษวิธีต่อการคืนสภาวะเข้มแข็งของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัด ร่วมกับการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่ง อายุ 26-52 ปี อยู่ระหว่างรับการรักษา ที่โรงพยาบาลมะเร็งในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 โดยใช้แบบวัดการคืนสภาวะเข้มแข็งหลังเผชิญภาวะวิกฤติ (Posttraumatic Growth Inventory:PTGI) คัดเลือกผทูี้่มคี ะแนนการคืนสภาวะเข้มแข็งหลังเผชิญภาวะวิกฤตเฉลี่ยตั้งแต่ 52.50 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 12 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 6 คน กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มเชิงวิภาษวิธี จำนวน 12 ครั้ง ต่อเนื่องกันทุกวัน วันละ 90-120 นาที กลุ่มควบคุมได้รับการปรึกษาตามวิธีปกติ การทดลองแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะ ก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล ผลการวิจัยสรุป ดังนี้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดได้รับโปรแกรมการปรึกษาเชิงวิภาษวิธีมีคะแนนเฉลี่ย การคืนสภาวะเข้มแข็งหลังเผชิญภาวะวิกฤติในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดได้รับโปรแกรมการปรึกษา เชิงวิภาษวิธี มีคะแนนเฉลี่ยการคืนสภาวะเข้มแข็งหลังเผชิญภาวะวิกฤติในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05Downloads
Issue
Section
Articles