การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Keywords:
ตัวบ่งชี้, ความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนมัธยมศึกษาAbstract
การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก พัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 300 คนการสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับ ส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่านพิจารณานำคะแนนที่ได้หาค่าดัชนีความสอดคล้องมีค่าอยู่ระหว่าง .6 – 1.0สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันผลการวิจัยพบว่า1) องค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก มี6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การรับรู้ประเด็นทางสังคม การให้บริการต่อสังคม การมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาในสังคมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะของชุมชน การสร้างจิตอาสาต่อสังคม การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพต่อสังคม 2)ตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก ที่พัฒนามาจากองค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย 6 ตัวบ่งชี้หลักและ 19 ตัวบ่งชี้ย่อย 3)ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยพิจารณาจากค่า X2 เท่ากับ 154.41df เท่ากับ 131 p-value เท่ากับ .079 GFI เท่ากับ .950 CFI, NFI เท่ากับ1 และ RMSEA มีค่าอยู่ระหว่าง .05-.08Downloads
Issue
Section
Articles