การรับรู้และความคาดหวังต่อบทบาทของศูนย์นวัตกรรมการบริหารและ ผู้นำทางการศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก
Keywords:
การรับรู้, ความคาดหวัง, บทบาท, ศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ ตลอดจนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการรับรู้และความคาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อบทบาทของศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษาตามพันธกิจหลักใน 4 ด้าน คือ ด้านการผลิตและการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ด้านการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ ด้านการบริการวิชาการแก่สังคมและด้านการอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออก จำนวน 279 คน โดยจำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการทำงาน วุฒิการศึกษาและสังกัดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .55-.85 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .93 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี Scheffe’s Method และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation coefficient) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้1. ผู้บริหารสถานศึกษามีการรับรู้ต่อบทบาทของศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและมีความคาดหวังอยู่ในระดับมาก2. ผู้บริหารสถานศึกษามีความคาดหวังต่อบทบาทของศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษาโดยรวมสูงกว่าการรับรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้และความคาดหวังโดยรวมของผู้บริหาร จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ วุฒิการศึกษาและสังกัดของสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นการรับรู้ของผู้บริหารเมื่อจำแนกตามประสบการณ์3. การรับรู้และความคาดหวังต่อบทบาทของศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา โดยรวมมีความสัมพันกันทางบวกในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01Downloads
Issue
Section
Articles