การสร้างเครื่องมือเพื่อการเสริมสร้างทักษะทางสังคมในโรงเรียนภายใต้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะทางสังคมในโรงเรียนตามกระบวนการ Pivotal Response Training (PRT) สำหรับเด็กออทิสติก อายุ 6-12 ปี.

Authors

  • พัชรีวรรณ คุณชื่น
  • ดารณี ศักดิ์ศิริผล
  • ไพฑูรย์ โพธิสาร

Keywords:

เด็กออทิสติก, ทักษะทางสังคมในโรงเรียน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อสร้างเครื่องมือของรูปแบบการเสริมสร้างทักษะทางสังคมในโรงเรียนตามกระบวนการ Pivotal Response Training (PRT) สำหรับเด็กออทิสติก และ 2. เพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือของรูปแบบการเสริมสร้างทักษะทางสังคมในโรงเรียนตามกระบวนการ Pivotal Response Training (PRT)สำหรับเด็กออทิสติก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมิน High-Functioning Autism SpectrumScreening 2) แบบวัดทักษะทางสังคมในโรงเรียนสำหรับเด็กออทิสติก และ 3) แผนการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะทางสังคมในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์การทำงานกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างน้อย 5 ปี โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 5 คน เครื่องมือนี้พัฒนาขึ้นโดยการบูรณาการจากการศึกษา เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเด็กออทิสติก ทักษะทางสังคมในโรงเรียน และกระบวนการ Pivotal Response Training (PRT) ร่วมกับวิธีการสอน การวิจัยนี้ศึกษาคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยใช้ดัชนีสอดคล้อง IOC ศึกษาด้านความเชื่อมั่น โดยใช้ดัชนีความสอดคล้องของผู้สังเกต (RAI : RateAgreement Indexs) ของเบอร์รี่ – สต๊อกและคณะ (Burry, Stock & Clissom) และศึกษาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient = rx)ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบประเมิน High-Functioning Autism Spectrum Screening มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .80 ถึง 1.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของแบบประเมิน เท่ากับ .97 2) แบบวัดทักษะทางสังคมในโรงเรียนส􀄞ำหรับเด็กออทิสติก มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .80 ถึง 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของผู้สังเกต (RAI) = .81 และ 3) แผนการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะทางสังคมในโรงเรียน ประกอบด้วย3 ทักษะ ได้แก่ 1) ทักษะการสื่อสารและสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น 2) ทักษะการท􀄞ำงานเป็นทีม/การท􀄞ำงานร่วมกับผู้อื่นและ 3) ทักษะการปรับตัว จ􀄞ำนวน 15 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ดังนั้นเครื่องมือนี้มีความตรงและความเชื่อมั่นเพียงพอที่จะสามารถใช้ในการเป็นเครื่องมือเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมในโรงเรียนส􀄞ำหรับเด็กออทิสติกได้The aims of this research were 1) to develop tools for enhancing social skills in schoolaccording to Pivotal Response Training (PRT) for autistic children, and 2) to develop the qualityof the tools for enhancing social skills in school according to Pivotal Response Training (PRT)for autistic children. The research instruments included: 1) High-Functioning Autism SpectrumScreening Assessment., 2) school social skills test for autistic children, and 3) activity plans forsocial skills development. The samples consisted of document research 5 experts who wereselected by purposive sampling with at least five years of experience with special needs children.The tools were developed by integrating the study of research and documents related to autisticchildren, social skills in school, Pivotal Response Training (PRT), and the methods of teaching andassessment for high-functioning autism. The research also investigated the quality of constructvalidity by using the IOC (Index of Item Objective Congruence) to study the test reliability, using RAI(Rate Agreement Index) of Burry, Stock and Clissom, and investigating Pearson’s Product MomentCorrelation Coefficient (rxy). The results of the research can be summarized in 3 parts. First, High-Functioning Autism Spectrum Screening Assessment had IOC with the value of 1.00 and correlationcoefficient had the value 0.97. Second, the assessment of school social skills in autistic childrenhad IOC between 0.80 to 1.00 and RAI with the value of 0.81. Third, activity plans for social skillsdevelopment consisting of communication and human relation skills, teamwork and collaborationskill, and adjustment skill with 15 activity plans had IOC with the value of 1.00. Therefore, thetools had sufficient validity and reliability developing social skills of autistic children in schools.

Downloads