กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคระยอง.
Keywords:
คำศัพท์., กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์., นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.).Abstract
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคระยอง และเปรียบเทียบการใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่มีผลการเรียนแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6) และกลุ่มที่จบประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ซึ่งมีจำนวนประชากรทั้งหมด 1,124 คน โดยการใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ(Stratified random sampling) ตามประเภทวิชาที่นักศึกษากำลังศึกษาอยู่ คืออุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริหารธุรกิจ คหกรรม อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้กลุ่มตัวอย่างที่จบ ม. 6 จำนวน 148 คน และกลุ่มที่จบ ปวช. จำนวน 148 คน รวมทั้งสิ้น 296 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ที่ประยุกต์จาก Schmitt’s Taxonomy of Vocabulary Learning Strategies(1997) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-Test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีการใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกัน ทั้งสองกลุ่มใช้กลวิธีการค้นหาความหมายของคำศัพท์จากพจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ หรือ อังกฤษ-อังกฤษ รองลงมาคือ การเดาความหมายของคำศัพท์จากบริบทแวดล้อมและการถามความหมายของคำศัพท์จากเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนตามลำดับแต่อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบการใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่มีผลการเรียนสูงและต่างจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสอง พบว่านักศึกษาที่มีผลการเรียนต่างกันมีการใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05The purposes of this research were to study the English Vocabulary Learning Strategies(EVLS) of second year diploma students at Rayong Technical College and to compare the EVLSof the different grade performance students. The population was 1,124 students. The stratifiedrandom sampling was used to choose 148 participants for high school group and 148 participantsfor certificate group from Industry, Commerce and Business Administration, Home economics,Tourism and Hospitality, and Information and Communication departments. The total numberof participants was 296. The instrument was an English Vocabulary Learning Strategies (EVLS)questionnaire. The questionnaire was adapted from Schmitt’s (1997) taxonomy of VocabularyLearning Strategies. The statistics employed were frequencies, means, standard deviation, andt-Test. The finding showed that both groups used similar EVLS. They were using monolingual andbilingual dictionry, guessing from textual context, and asking classmates for meaning, respectively.However, the comparision for EVLS’ of the students with high grade performance and low gradeperformance had the difference at .05 level.Downloads
Issue
Section
Articles