ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ TAI เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.

Authors

  • ชลธิชา สาชิน
  • นงลักษณ์ วิริยะพงษ์
  • มนชยา เจียงประดิษฐ์

Keywords:

กลุ่มร่วมมือแบบ TAI, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์พหุนาม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องพหุนาม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องพหุนาม โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ TAI 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพหุนาม ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ TAI กับเกณฑ์ร้อยละ 75 4) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่องพหุนาม ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ TAI กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/8 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 36 คน การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ TAI ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน30 ข้อ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t–test (One Sample)ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องพหุนามมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.90/78.43 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/752. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องพหุนาม โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ TAIมีค่าเท่ากับ 0.7001 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนร้อยละ 70.013. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้ เรื่องพหุนามมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .014. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้ เรื่องพหุนามมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01The purposes of this research were as follows: 1) to study the effects of mathematics learningactivities by using cooperative learning TAI on Polynomial for Mathayomsuksa 1 with a requiredefficiency of 75/75, 2) to study the effective index value of the learning plan using cooperativelearning TAI, 3) to compare learning achievement on Polynomial using cooperative learning TAIthe 75 percent threshold, and to compare learning ability in analysis thinking on Polynomialusing cooperative learning TAI the 70 percent threshold. The research sample consisted of 36Mathayomsuksa 1/8 students attending a school in the second semester of academic year 2015,obtained using the cluster random sampling. The instruments used in the study were : 9 lessonplans for organizing cooperative learning TAI, with 30-item and 4-multiple-choice achievement testand with 20-item and 4-multiple-choice ability in an analysis thinking test. The statistical methodsemployed for data analysis were percentage, mean, standard deviation and t – test (one sample)which were used in the testing hypotheses.The results of the research were as follows:1. The mathematical-learning plan by cooperative learning TAI on Polynomial forMathayomsuksa 1 had an efficiency of 80.90/78.43, which met the required criterion.2. The mathematical-learning plan by cooperative learning TAI had an effective index of0.7001 or 70.01 percent.3. The students who learned by using cooperative learning TAI on Polynomial hadmathematical achievement higher than the 75 percent criterion at .01 level of significance.4. The students who learned by using cooperative learning TAI on Polynomial had abilityin analysis thinking higher than the 70 percent criterion at .01 level of significance

Downloads