ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Authors

  • Boulay Keovongsa
  • อาพันธ์ชนิต เจนจิต
  • วิมลรัตน์ จตุรานนท์

Keywords:

การเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติและเพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนมัธยมศึกษาสมบูรณ์ ดอนหนุน นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 68 คน (2 ห้องเรียน) จากทั้งหมด 4 ห้องแต่ละห้องมีความสามารถทางด้านการเรียนคละกัน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม และจากผลการทดสอบก่อนเรียนพบว่า นักเรียนทั้งสองห้องมีผลสำเร็จทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากนั้น ทำการจากฉลากได้ห้องที่ 1 จำนวน 36 คน ใช้เป็นกลุ่มทดลองและห้องที่ 2 จำนวน 32 คน ใช้เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทีผลการวิจัยพบว่านักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรและระบบอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเจตคติที่มีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD อยู่ในระดับมากThe purposes of this research were to compare mathematical learning achievement andproblem solving ability of grade 8 students in Vientiane capital, Laos people’s democratic republic onsimultaneous equation and one variable inequality system between students taught by cooperativeleaning, STAD technique and those taught by traditional approach; and to study students’ attitudetoward mathematics learning taught by cooperative leaning, STAD technique. The sample included68 Grade 8 students of 2 classrooms dawn by cluster random sampling from 4 mixed performanceclasses in 2015 – 2016 academic year, first semester of Donnoon secondary school, Vientiane,Laos. The pre–test unveiled no statistically significant differences at .05 level between these twogroups, both mathematical learning achievement and problem solving ability. The participantswere then drawn and assigned to an experiment group (36 students) and to a control group (32students). Research tools consisted of a lesson plan, a mathematical learning achievement test, amathematical problem solving ability test and a questionnaire on attitude towards mathematicslearning. The mean, standard deviation, and t – value were analyzed.The results of research were: grade 9 students taught by cooperative leaning, STAD techniqueachieved higher mathematical learning achievement as well as problem solving on simultaneousequation and one variable inequality system than those of student taught by traditional approachstatistically significant at the level of .05; and attitude toward mathematics learning of grade 8students taught by using cooperative leaning, STAD technique was rated at high level.

Downloads