แรงจูงใจของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18

Authors

  • จุติพร จินาพันธ์
  • สฎายุ ธีระวณิชตระกูล

Keywords:

แรงจูงใจของครู, ประสิทธิผล, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจของครูในโรงเรียน 2) ศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียน และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนจากตัวแปรด้านแรงจูงใจของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แรงจูงใจของครูมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.28–0.90 ค่าความเชื่อมั่น 0.97 และประสิทธิผลของโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.38–0.90 ค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)ผลการวิจัยพบว่า 1. แรงจูงใจของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ความรับผิดชอบ สภาพการทำงาน และเงินเดือน 2. ประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ความสามารถในการแก้ปัญหาในโรงเรียนความสามารถในการผลิตนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก 3. แรงจูงใจของครูมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 ในระดับสูงในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร พบว่าตัวแปรทั้งหมดมีค่าความสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.71–0.95 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .054. แรงจูงใจของครูด้านลักษณะงาน (X3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (X7) ด้านความก้าวหน้า (X5) ด้านเงินเดือน (X10) ด้านความรับผิดชอบ (X4) สามารถสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 ได้ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .973อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อำนาจพยากรณ์เท่ากับ 94.60 เปอร์เซ็นต์ เขียนเป็นสมการในรูปคะแนนดิบดังนี้Ŷ= .265 + .356(X3) + .517(X7) + .275(X5) – .146(X10) – .063(X4)The purpose of this research were 1) to study teachers’ motivation of the schools, 2)to study the effectiveness of the schools,3) to determine the relationships between teachers’motivationand schools effectiveness, and 4) to create a prediction equations of schools effectivenessby using the factors on teachers’ motivation of the schools under the Secondary EducationalService Area Office 18. Thesample consisted of 338 teachers under the Secondary EducationalService Area Office 18. The research instruments used for collecting data were five level ratingscale questionnaires, with discrimination power value teacher’s motivation was between 0.28 –0.90 and reliability value of 0.97. Beside, its discrimination power value school effectiveness wasbetween 0.38 – 0.90 and reliability value of 0.96. The statistics devices used in analyzing the dataincluded mean score, standard deviation, Pearson product moment correlation coefficient andstepwise multiple regression analysis.The research findings were:1. Teachers’ motivation affected to school effectiveness under the Secondary EducationalService Area Office 18, as a whole, was found to be at the high level. It could be ranked from highto low as follows: responsibility, working condition and salary.2. Schools effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office 18, as awhole, was found to be at the high level. It could be ranked from high to low as follows: solvingproblem, productivity and positive attitude.3. Teachers’ motivation had a positive correlation with school effectiveness under theSecondary Educational Service Area Office 18 significance p < .05 was at a highest level. Thecorrelation analysis of the variables found that all variables has correlation coefficient valuebetween 0.71 – 0.95.4. Work itself (X3), interpersonal relation (X7), advancement (X5), salary (X10), responsibility(X4) could predict school effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office 18 byexplaining the multiple correlation coefficient equal to .973 significance p < .05 and the variance ofschool effectiveness in 94.60 % that could be written in the form of raw score equation as follow; Ŷ = .265 + .356(X3) + .517(X7) + .275(X5) – .146(X10) – .063(X4)

Downloads